การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตถ่านอัดแท่งจากจุกสับปะรด (The Feasibity study of production of Charcoal briquettes from pineapple stopper)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

นงลักษณ์ อักษรพันธ์, รุ่งนิรันดร์ จิตดี

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว 662.88 น12ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนําจุกสับปะรดซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทาง การเกษตรมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน แทนการใช้ฟื้นและถ่านไม้ที่ได้ จากแหล่งธรรมชาติ โดยการนําจุกสับปะรดมาเผาให้เป็นถ่าน นําไปบดให้เป็นผงถ่านและผสมกับกาว แป้งเปียกในอัตราส่วน 1:0.5, 10.75, 1:1, 1:1.5 และ 1:2 จากนั้นนําไปอัดขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดเย็น โดยใช้เครื่องอัดแรงคน นํามาทดสอบลักษณะทั่วไป การบีบและการตกกระแทกที่ระดับความสูง 50 และ 100 เซนติเมตร สมบัติด้านเชื้อเพลิงและประสิทธิภาพการใช้งาน ผลการศึกษาพบวา ถานอัด แท่งจุกสับปะรดอัตราส่วน 1:1 มีคุณสมบัติดีที่สุด และเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัด แท่ง 238/2547 เนื่องจากลักษณะทั่วไปของถ่านอัดแท่ง มีรูปทรงเดียวกัน ขนาดใกล้เคียงกัน และมีสี ตําสม่ําเสมอ ไม่เกิดการแตกหักจากการีบและการตกกระแทก การทดสอบสมบัติด้านเชื้อเพลิงพบว่า มีปริมาณความขึ้นร้อยละ 5.75 และมีปริมาณสารระเหย, ปริมาณเถ้า, ปริมาณคาร์บอนคงตัว และ ค่าการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานเท่ากับร้อยละ 24.43, 2.63, 67.30 และ 19.75 ตามลําดับ โดยมีค่าความร้อน 5,241.33 แคลอรีต่อกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับถ่านอัดแท่งและถ่านไม้ (ซื้อจาก ตลาด) จะมีประสิทธิภาพการใช้งานใกล้เคียงกัน และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ํากว่าถ่านอัดแท่ง (ซื้อจาก ตลาด) ดังนั้นจุกสับปะรดจึงสามารถนํามาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งได้ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาขยะที่เกิดจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตถ่านอัดแท่งจากจุกสับปะรด