ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
ปารีดา มรรคาเขต, มูนา หยาหลี |
|
สำนักพิมพ์: |
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2552 |
|
เลขหมู่: |
ว.577.64 ป27ก |
|
รายละเอียด: |
ปริมาณธาตุอาหารในน้ำบริเวณคลองนาทับตำบลนาทับอำเภอจะนะจังหวัดสงขลาศึกษาในเดือนพฤษภาคม 2552 (ฤดูแล้ง) และเดือนตุลาคม 2552 (ฤดูฝน) โดยทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำทางกายภาพเคมีและวิเคราะห์หาปริมาณฟอสเฟตแอมโมเนียไนไตรท์ไนเตรทและซิลิกาคุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมีโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานยกเว้นปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในบริเวณต้นน้ำซึ่งเป็นแหล่งชุมชนมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 3 สำหรับผลจากการศึกษาปริมาณธาตุอาหารในน้ำบริเวณคลองนาทับในช่วงฤดูแล้งปริมาณฟอสเฟตแอมโมเนียไนไตรท์ไนเตรทและซิลิกาปริมาณที่ตรวจวัดได้มีค่าเท่ากับ 0.029-0.090 มก. / ล. 0.93-2.80 มก. / ล. 0.125-0.616 มก. / ล. 0.898-1.683 มก. / ล. 0.106-0.226 มก. / ล. ตามลำดับส่วนในช่วงฤดูฝนปริมาณที่ตรวจวัดได้มีค่าเท่ากับ 0.036-0.062 มก. / ล. 1.12-2.80 มก. / ล. 0.181 0.253 มก. / ล. 0.780-1.15 มก. / ล. 0.137-0.198 มก. / ล. ตามลำดับโดยพบว่าการกระจายตัวธาตุอาหารจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปตามฤดูกาลและสถานที่เก็บตัวอย่างซึ่งในฤดูแล้งจะมีการกระจายตัวของปริมาณธาตุอาหารได้มากกว่าในฤดูฝนเนื่องจากในฤดูแล้งมีอัตราการไหลของน้ำต่ำจึงทำให้เกิดการพัดพาของธาตุอาหารได้น้อยยกเว้นซิลิกาที่มีการกระจายตัวในช่วงฤดูฝนใกล้เคียงกับฤดูแล้งเนื่องจากโดยทั่วไปซิลิกาเป็นส่วนประกอบหลักของดินโดยจะมีอยู่ทั่วไปทั้งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเช่นเกิดจากตะกอนดินการผุกร่อนของดินและหินโดยเมื่อฝนตกซิลิกาจะมีการชะล้างลงสู่แหล่งน้ำจึงทำให้ค่าซิลิกามีการกระจายตัวได้ใกล้เคียงกันจากการศึกษาควรมีการเฝ้าระวังปริมาณแอมโมเนียและฟอสเฟตเนื่องจากมีค่าสูงเกินมาตรฐานน้ำผิวดินประเภทที่ 3 และเกณฑ์มาตรฐานในน้ำธรรมชาติโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากมีศักยภาพที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำคลองนาทับได้ในอนาคต |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การกระจายตัวของธาตุอาหารในน้ำบริเวณคลองนาทับ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
|