ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
บุษยา หมัดสะหริ,อานนท์ แก้วอนุราช |
|
สำนักพิมพ์: |
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2556 |
|
เลขหมู่: |
ว.363.7394 บ48ค |
|
รายละเอียด: |
การศึกษาสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในการบ่งชี้คุณภาพน้ำและตะกอนดินในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง โดยดำเนินการเก็บตัวอย่างในเดือนธันวาคม 2555 และเดือนมกราคม 2556 จำนวน 3 แนว (แนว A บริเวณใกล้ปากคลองพะวง แนว B ทางทิศตะวันออกของเกาะยอ และแนว C บริเวณใกล้ปากคลองสำโรง) พบสัตว์หน้าดินทั้งหมด 4 ไฟลัม 31 วงศ์ มีความหน่าแน่นอยู่ในช่วง 8 - 2,383 ตัวต่อตารางเมตร ไฟลัมอาร์โทรโพดา มีความหลากหลายมากที่สุด รองลงมา คือไฟลัมมอลลัสคาแอนเนลิดา และคอร์ดาตา ตามลำดับ เดือนธันวาคมพบสัตว์หน้าดินมีความหน่าแน่นมากกว่าเดือนมกราคม ส่วนปัจจัยสิ่งแวดล้อมพบว่าค่า พีเอช อุณหภูมิ ความเค็ม ความลึก และออกซิเจนละลายน้ำ มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ประเภทที่ 3 (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) เมื่อนำสัตว์หน้าดินมาประเมินคุณภาพน้ำและตะกอนดินด้วยวิธี AMBI (AZTI Marine Biotic Index) โดยภาพรวมบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่างในเดือนธันวาคม 2555 และเดือนมกราคม 2556 มีค่าสัมประสิทธิ์ชีวภาพอยู่ในช่วง 0.13 - 0.45 และมีค่าดัชนีสิ่งมีชีวิตอยู่ในระดับ 0 - 1 ซึ่งบ่งชี้ว่าไม่มีการปนเปื้อนของมลพิษในแหล่งน้ำ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การใช้สัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในการบ่งชี้คุณภาพน้ำและตะกอนดินในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง |
|