รายละเอียด: |
รายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพและเคมีของมูลฝอยชุมชน ในเทศบาลตําบลเกาะแต้ว อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยทําการศึกษา 2 ฤดูกาล พบว่า ฤดูฝนมี ปริมาณมูลฝอย 7,400 กิโลกรัม/วัน และอัตราการเกิดมูลฝอย 0.66 กิโลกรัม/คน/วัน องค์ประกอบ ทางกายภาพ ได้แก่ ความหนาแน่น เท่ากับ 163.28 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร องค์ประกอบของ มูลฝอยที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ พลาสติก (ร้อยละ 26.57) ไม้/หญ้า (ร้อยละ 18.04) และ เศษผัก/อาหาร (ร้อยละ 15.92) ตามลําดับ องค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ ความชื้น (ร้อยละ 60.08) ปริมาณของแข็งทั้งหมด (ร้อยละ 39.93) ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ (ร้อยละ 78.20) และปริมาณเถ้า (ร้อยละ 21.8) ฤดูร้อนมีปริมาณมูลฝอย เท่ากับ 7,867 กิโลกรัม/วัน อัตราการเกิดมูลฝอย 0.70
กิโลกรัม/คน/วัน องค์ประกอบทางกายภาพ ได้แก่ ความหนาแน่น เท่ากับ 110.28 กิโลกรัม/ลูกบาศก์ เมตร องค์ประกอบของมูลฝอยที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ พลาสติก (ร้อยละ 25.86) กระดาษ (ร้อยละ 20.17) และเศษผัก/อาหาร (ร้อยละ 16.94) ตามลําดับ องค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ ความชื้น (ร้อยละ 51.29) ปริมาณของแข็งทั้งหมด (ร้อยละ 48.71) ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ (ร้อยละ 70 03) และปริมาณเถ้า (ร้อยละ 20.97) เมื่อคํานวณทางสถิติเปรียบเทียบระหว่าง 2 ฤดูกาล พบว่า ความหนาแน่นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับความเชื่อมันร้อยละ 95 ดังนั้น ผู้วิจัยได้เล็ง ถึงความสําคัญด้านการบริหารการจัดการเก็บขนมูลฝอยทางเทศบาลควรให้ความสําคัญเกี่ยวกับการ คัดแยกมูลฝอยจากแหล่งกําเนิด เพื่อนํามูลฝอยแต่ละประเภทมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด |