การประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์คาดการณ์ระดับเสียงจากการจราจรทางราบ NMTHAI 1.2 กรณีศึกษา( Assessment of the efficiency of mathematical models anticipated volume of traffic from flat NMTHAI 1.2 case study :Traffic at Samrong Junction)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ปนัดดา ทิพกองลาด, มารียะ มาหะหม๊ะ

สำนักพิมพ์: 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว 363.74 ป15ก

รายละเอียด: 

การศึกษาการประเมินประสิทธิภาพของแบบจําลองทางคณิตศาสตร์คาดการณ์ระดับ เสียงจากการจราจรทางราบ NATHAN 1.2 กรณีศึกษา : การจราจรบริเวณสามแยกสําโรง โดยผู้วิจัย ได้ทําการตรวจวัดระดับเสียงในเดือนกันยายน เดือนพฤศจิกายน 2558 รวมทั้งหมด 3 เดือน ซึ่ง กําหนดพื้นที่ทําการตรวจวัด 3 พื้นที่ ได้แก่ ถนนสงขลา-นาทวี ถนนกาญจนวนิช และถนนไทรบุรี โดย ตรวจวัดในช่วงเวลาเร่งด่วน แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 07.00-08.00 น. ช่วง กลางวันตั้งแต่เวลา 12.00-13.00 น. และช่วงเย็นตั้งแต่เวลา 16.00-17.00 น. ซึ่งจะตรวจวัดเดือนละ * 2 ครั้ง ในวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) และในวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) โดยศึกษาระดับความดังของเสียง สูงสุด (max) ในช่วงเวลาเร่งด่วน 1 ชั่วโมง ในวันธรรมดา และวันหยุด ข้อมูลส่วนใหญ่ พบว่าระดับ ความดังของเสียงสูงสุด (Ermax ) ในวันหยุดสูงกว่าวันธรรมดา โดยพบว่าค่าระดับเสียงสูงสุดที่สูงที่สุด คือ จะพบบริเวณถนนสงขลา-นาทวี ในวันหยุด ช่วงเวลา 12.00-13.00 น. มีค่าระดับเสียง เท่ากับ 94.5 dB(A) เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานระดับเสียศสูงสุดของมาตรฐานระดับเสียงทั่วไป (ไม่เกิน 115 dB(A)) โดยพบ ค่าระดับเสียงสูงสุดในวันธรรมดา และวันหยุดทั้งหมดนั้นยังไม่เกินจากที่กฎหมายกําหนด ส่วนการเปรียบเทียบระดับความดังของเสียงเฉลี่ย (Les 1 hr) ในวันธรรมดา และวันหยุด ข้อมูลส่วน ใหญ่ พบว่าระดับความดังของเสียงเฉลี่ย (Leg 1 hr) ในวันหยุดสูงกว่าวันธรรมดา จะเห็นได้ว่า Emax และ Leg 1 hr ในวันหยุดสูงกว่าวันธรรมดาเช่นเดียวกัน โดยพบว่าค่าระดับเสียงเฉลี่ยสูงสุด คือจะพบ บริเวณถนนสงขลา-นาทวี ในวันหยุด ช่วงเวลา 12.00-13.00 น. มีค่าระดับเสียง เท่ากับ 80.31 dB{A) และค่าระดับเสียงเฉลี่ยต่ําสุด จะพบบริเวณถนนไทรบุรี ในวันธรรมดา ช่วงเวลา 12.00-13.00 น. ซึ่งเป็น ช่วงชั่วโมงเดียวกันด้วย มีค่าระดับเสียง เท่ากับ 70 96 dB(A) ตามลําดับ และการศึกษาระดับความดัง ของเสียงเฉลี่ย (Leg 24 hr) บริเวณถนนสงขลา-นาทวี ถนนกาญจนวนิช โดยพบว่าค่าระดับเสียงเฉลี่ย (Leg 24 hr) สูงสุด คือจะพบบริเวณถนนกาญจนวนิช มีค่าระดับเสียง เท่ากับ 84,49 dB(A) และค่า ระดับเสียงเฉลี่ย (L) 24 hr) ต่ําสุด คือจะพบบริเวณถนนไทรบุรี มีค่าระดับเสียง เท่ากับ 81.94 dB(A) ตามลําดับ ซึ่งเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานระดับเสียงทั่วไปในสิ่งแวดล้อมระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่า ระดับเสียงเกินจากมาตรฐานระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (70 dB(A)) ซึ่งเสียงที่เกิดขึ้นนี้อาจมีผลกระทบ ต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ริมถนนเป็นเวลานาน และอาจเป็นอันตรายต่อระบบการได้ยินได้ การใช้แบบจําลองทางคณิตศาสตร์คาดการณ์ระดับเสียงจากการจราจร NMTHAI 1.2 โดยป้อนข้อมูลทั้งหมด 270 ข้อมูล พบว่าค่าระดับเสียงที่ได้จากการคาดการณ์โดยแบบจําลองทาง คณิตศาสตร์กับค่าระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดในพื้นที่จริงมีค่าใกล้เคียงกันมาก ซึ่งแบบ แบบจําลองทางคณิตศาสตร์ดังกล่าว สามารถใช้คาดการณ์ระดับเสียงที่ระยะ 0-99 เมตร จากบริเวณ ริมถนน และที่ระดับความสูง 1-12 เมตร ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ทําการทดสอบประสิทธิภาพของ แบบจําลองทางคณิตศาสตร์คาดการณ์ระดับเสียงจากการจราจร NMTHAI 1.2 ค่าระดับเสียงที่ได้จาก การคาดการณ์โดยแบบจําลองทางคณิตศาสตร์กับระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดในพื้นที่จริง ซึ่งผล การศึกษาพบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.891 ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าแบบจําลองทาง คณิตศาสตร์คาดการณ์ระดับเสียงจากการจราจร NMTHAI 1.2 ดังกล่าวนี้ยังมีประสิทธิภาพในการ ทํานายได้ใกล้เคียงกับค่าระดับเสียงที่เกิดขึ้นจริงมาก และแบบจําลองฯนี้ยังสามารถใช้ได้กับบริเวณ ถนนสงขลา-นาทวี ถนนกาญจนวนิช และถนนไทรบุรี อยู่

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์คาดการณ์ระดับเสียงจากการจราจรทางราบ NMTHAI 1.2 กรณีศึกษา