การศึกษาปริมาณมูลฝอยอันตรายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พ.ศ. 2558 (The study on the quantity of hazardous waste in Songkhla Rajabhat University in 2015)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

จิตติมา หวันล่าโส๊ะ, ประสิทธิชัย ชูช่วย, รอบีอ๊ะ บ่ายศรี

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว 363.728 จ34ก

รายละเอียด: 

การศึกษาปริมาณมูลฝอยอันตรายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณมูลฝอยอันตราย โดยได้แบ่งแหล่งกำเนิดมูลฝอยเป็น 6 แหล่ง ได้แก่ 1. หอพักและบ้านพัก 2. อาคารเรียน 3. โรงอาหาร 4. หอประชุม 5. ห้องสมุด/สถานพยาบาล และ 6. สหกรณ์ จากการเก็บข้อมูลปริมาณมูลฝอย ในระหว่าวันที่ 26 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน 2558 จำนวน 6 วัน มีปริมาณมูลฝอยในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาเกิดขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 1883.33 กิโลกรัม/วัน พบว่ามูลฝอยอันตรายมีปริมาณมูลฝอยเฉลี่ยเท่ากับ 9.68 กิโลกรัม/วัน คิดเป็นร้อยละ 9.98 จากปริมาณมูลฝอยทั้งหมด และได้ทำการคัดแยกองค์ประกอบของมูลฝอยอันตรายออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. บรรจุภัณฑ์สารเคมี 2. มูลฝอยติดเชื้อ 3. มูลฝอยอิเล็กทรอนิกส์ และ 4.วัตถุมีคม มูลฝอยอันตรายประเภทบรรจุภัณฑ์สารเคมีมีปริมาณมูลฝอยมากที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 4.40 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 49.77 ได้แก่ กระป๋องสเปรย์ กระป๋องสี และขวดใส่สารเคมี พบมากบริเวณอาคารคณะศิลปกรรม รองลงมา คือ มูลฝอยอิเล็กทรอนิกส์ มีปริมาณมูลฝอยเฉลี่ยเท่ากับ 2.51 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 26.14 ได้แก่ ซากโทรศัพท์มือถือ ซากรีโมท และแผ่นซีดี พบมากบริเวณหอพัก และโรงอาหาร มูลฝอยติเชื้อมีปริมาณมูลฝอยเฉลี่ย เท่ากับ 1.17 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 12.66 ได้แก่สำลี ผ้าก๊อซ กระดาษชำระ และหน้ากากอนามัย พบมากบริเวณห้องสมุด สถานพยาบาล และอาคารคณะเทคโนโลยีการเกษตร และวัตถุมีคมมีปริมาณมูลฝอยเฉลี่ย เท่ากับ11.42 ได้แก่ มีด คัตเตอร์ เศษกระจก และเศษเหล็ก พบมากบริเวณหอพัก และบ้านพัก ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการจัดการมูลฝอยอันตรายให้มีการคัดแยกมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยก่อนทิ้งลงภาชนะรองรับมูลฝอย มีการจัดวางภาชนะรองรับมูลฝอยอันตราย 4 ประเภท ทางมหาวิทยาลัยควรมีพื้นที่รวบรวมมูลฝอยอันตราย ประสางานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อจัดการแก้ไขปัญหามูลฝอยอันตรายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คำสำคัญ : มูลฝอนอันตราย บรรจุภัณฑ์เคมี มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยอิเล็กทรอนิกส์ และวัตถมีคม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาปริมาณมูลฝอยอันตรายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พ.ศ. 2558