การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกถั่วลิสง (The feasibility study of production of charcoal briquettes from peanut shell)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ชีวาพร บุญเพ็ชร์, ธนชาติ พูนเมือง, ปนัดดา แก้วมณี

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว. 662.88 ช37ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเปลือกถั่วลิสง ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสูง หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มาผลิตเป็นถ่านอัดแห่ง โดยนำเปลือกถั่วลิสงมาเผาให้เป็นถ่าน ผสมผงด่านที่ได้กับตัวประสาน(กาวแป้งเปียก) ในอัตราส่วน 1:05. 1:0.75.-บ 11 115 และ 1:2 นำไปอัดให้เป็นแท่งด้วยวิธีการอัดเย็นโดยใช้เครื่องอัดแรงคน จากนั้นนำถ่านอัดแห่งจากเปลือกถั่วลิสงที่ได้มาทดสอบลักษณะทั่วไปการบีบและการตกกระแทก สมบัติด้านเชื้อเพลิง และประสิทธิภาพการใช้งาน ผลการศึกษา พบว่าถ่านอัดแท่งจากเปลือกถั่วลิสงอัตราส่วน 1:1 ดีที่สุด ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง (มผช.238/2547) เนื่องจากลักษณะทั่วไปของถ่านอัดแห่งมีรูปทรงเดียวกัน ขนาดใกล้เคียงกันและมีสีดำสม่ำเสมอ ไม่แตกหักจากการบีบและการตกกระแทก ส่วนการทดสอบสมบัติด้านเชื้อเพลิงพบว่า มีปริมาณความชื้น 6.57 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณสารระเหย 23.91 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณเถ้า 2.55เปอร์เซ็นต์ ปริมาณคาร์บอนคงตัว 66.97 เปอร์เซ็นต์ และค่าความร้อน 5,591.82 แคลอรี่ต่อกรัมสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน พบว่า มีประสิทธิภาพการใช้งาน 19.94 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับถ่านไม้และถ่านอัดแท่ง (ซื้อจากตลาด) จะมีคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงและมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเปลือกถั่วลิสงมีความเป็นไปได้ที่สามารถนำมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง เพื่อใช้ทตแทนถ่านไม้และฟินจากธรรมชาติ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหามลภาวะขยะเหลือทิ้ง และเป็นทางเลือกต้านพลังงานในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงใช้แทนก๊าซหุงต้มได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกถั่วลิสง