ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
เวย์วิกา ท่าจีน, มลิณี อ่อนหนู |
|
สำนักพิมพ์: |
สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2565 |
|
เลขหมู่: |
ว 363.728 ว56ก |
|
รายละเอียด: |
รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยชุมชนในพื้นที่เทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และเพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยชุมชนระหว่างปี พ.ศ. 2558 เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2564 โดยเก็บตัวอย่างมูลฝอย 6 วันพบว่า ปริมาณมูลฝอยในปี พ.ศ.2558 ที่เกิดขึ้นต่อวันเฉลี่ย 26,940 กิโลกรัม/วัน มีอัตราการเกิดมูลฝอย เท่ากับ 0.66 กิโลกรัม/คน/วัน ปริมาณมูลฝอยในปี พ.ศ.2564 ที่เกิดขึ้นต่อวัน เฉลี่ย 37,920กิโลกรัม/วัน มีอัตราการเกิดมูลฝอย เท่ากับ 1.14 กิโลกรัม/วัน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณมูลฝอยโดยใช้สถิติแบบอ้างอิง Independent Sample T-test พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 องค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอย ได้แก่ ความหนาแน่นของปี พ.ศ.2558 คิดเป็นร้อยละ 0.18 กิโลกรัม/ลิตร หรือ 180 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และความหนาแน่นในปีพ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 0.12 กิโลกรัม/ลิตร หรือ 113.68 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร เมื่อเปรียบเทียบปริมาณมูลฝอยโดยใช้สถิติแบบอ้างอิง Independent Sample T-test มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และความชื้นของมูลฝอยคิดเป็นร้อยละ 42.95 เปอร์เซ็นต์องค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยในเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ระหว่าง ปีพ.ศ. 2558 กับปีพ.ศ.2564 พบว่าองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยที่มีแตกต่างกัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบปริมาณโดยใช้สถิติแบบอ้างอิง Independent Sample T-test มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ เศษอาหาร,กระดาษ,แก้ว,พลาสติก,เศษใบไม้,พลาสติกแข็ง,เศษผ้า,โลหะ,โฟม, กระป้องอะลูมิเนียมหลอดไฟ และจากการเปรียบเทียบองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยโดยใช้สถิติแบบอ้างอิง Independent Sample T-test พบว่า มูลฝอยประเภท ขวดพลาสติกเศษอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยของเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา |
|