มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ (Ethical Standards of School Administrators According to the Attitude of Teacher under the Office of Trang Krabi Secondary Educational Service Ar

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ณัฐดนัย รอดริน

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2564

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ และ 2) เปรียบเทียบมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ จำแนกตามสถานภาพ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 297 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และตอนที่ 2 แบบสอบถามมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามมาตรวัดของลิเคิร์ท มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.985 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ Independent Samples Test และค่า F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้านการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ด้านความกล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม ด้านซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดีและรับผิดชอบต่อหน้าที่ ด้านคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวและมีจิตสาธารณะ ด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และด้านดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามอายุ โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่