การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม สำหรับผู้สูงวัยมุสลิมศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง (Muslim Culturally Appropriate Model Development for Elderly People on Health Care Service at Community Health Cente

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ตอยยีบะห์ อีนะแร

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2563

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงวัยมุสลิมในตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลคือ ตัวแทนผู้รับบริการและผู้ให้บริการสาธารณสุขที่เป็นสวนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่ทําการศึกษา ซึ่งจะเปนผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 70 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้เครื่องมือสำหรับผู้วิจัยและเครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยี ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต และศึกษาเอกสารตำรา ที่เกี่ยวข้อง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยที่มีดำเนินการควบคุมคุณภาพของข้อมูล ใช้การตรวจสอบสามเส้าหลายวิธีตามสภาพและความจำเพาะของข้อมูล เช่น จากแหล่งของข้อมูล จากแนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากผู้วิจัยและจากการตรวจสอบด้านระเบียบวิธี ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ประกอบด้วย ผู้สูงวัยมุสลิมที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 51.4 และผู้ให้ข้อมูลหลักทั่วไป ประกอบด้วย ผู้ดูแลผู้สูงวัยมุสลิม บุคลากรสาธารณสุข ผู้นำศาสนา อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 48.6 ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ พบว่า มีอายุระหว่าง 60-65 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.8 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.7 และกลุ่มเป้าหมายทุกคนมีประสบการณ์ในการเข้ารับบริการสุขภาพของหน่วยบริการศูนย์สุขภาพชุมชน ทั้งนี้พบว่า แนวทางของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมได้ออกแบบเพื่อพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัยสรุปได้เป็น 4 วงจร คือ วงจรที่ 1 การเตรียมความพร้อมและวางแผน วงจรที่ 2 การปฏิบัติการตามแผน วงจรที่ 3 การประเมินและตรวจสอบ และวงจรที่ 4 การปรับปรุงและข้อเสนอแนะ อีกทั้งผลในการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพฯ พบว่า ผู้สูงวัยมุสลิมมีความรู้ ความตระหนักในการเข้ารับบริการสุขภาพอันจำเป็นและเข้าถึงบริการสุขภาพจากที่ได้รับ การประชาสัมพันธ์จากผู้นำมัสยิดอย่างทั่วถึง และบุคลากรสาธารณสุขมีความเข้าใจวิถีชีวิตของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม สามารถให้บริการที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงวัยมุสลิม จากผลการวิจัยที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงวัยมุสลิมต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม สำหรับผู้สูงวัยมุสลิมศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง