ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
นารีมะห์ แวปูเตะ |
|
สำนักพิมพ์: |
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2563 |
|
เลขหมู่: |
||
รายละเอียด: |
การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรค การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรค ทัศนคติที่มีต่อการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ โดยใช้สถิติทดสอบแบบ t–test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรค และทัศนคติในการป้องกันตัวเองจากโรคกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของนักศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณา พบว่า การรับรู้ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคไวรัสโคโรนา 2019 และทัศนคติในการป้องกันตัวเองจากโรคไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาในระดับที่ต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = -.361, r = .496 และ r = .325 ตามลำดับ) และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์กับกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = .546) และในทุกปัจจัยของของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ยกเว้นการรับรู้ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางตรงข้าม |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|