การบริหารงานแบบประสานความร่วมมือต่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา สวนส้มโอหอมควนลัง จังหวัดสงขลา ( The Collaborative governance that affect knowledge management based on local wisdom : a case study of Khuanlang pomelo garden, Songkhla)
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
วิศรุตา ทองแกมแก้ว |
สำนักพิมพ์: |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2565 |
เลขหมู่: |
ว.658.4038 ว38ก |
รายละเอียด: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานแบบประสานความร่วมมือที่มีผลต่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา สวนส้มโอหอมควนลัง จังหวัดสงขลา 2) เพื่อรวบรวม และ ถ่ายทอดชุดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกรณีสวนสัมโอหอมควนลังจากกระบวนการบริหารงานแบบประสานความร่วมมือ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research)ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ การวิจัยเชิงคุณภาพ (QualitativeResearch) กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จำนวน 32 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักสำหรับการสัมภาษณ์รวมทั้งหมด 8 คน ได้แก่ 1) ผู้บริหารเทศบาลเมืองควนลัง จำนวน 1คน 2 ผู้บริหารโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จำนวน 1 คน 3) บุคลากรเกษตรอำเภอหาดใหญ่จำนวน 1 คน และ 4) เกษตรกรเจ้าของสวนส้มโอหอมควนลัง จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูสโดยการใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผลการวิจัย พบว่า การบริหารงานแบบประสานความร่วมมือมีผลต่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสวนส้มโอหอมควนลัง จังหวัดสงขลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน (B1 = 0.975 , p < 0.001) ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัย โดยอิทธิพลของการบริหารงานแบบประสานความร่วมมือสามารถอธิบายการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ร้อยละ 95.0 และ บทบาทความร่วมมือระหว่างชุมชน กับ ภาครัฐ มีการประชุมร่วมกันตลอดตั้งแต่เริ่มต้นเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อให้ได้ส้มโอที่มีผลิตผลทั่วกันทุกสวน เพื่อให้ได้มีการจัดงานประชาสัมพันธ์สัมโอหอมควนลัง ทั้งการกำหนดนโยบายร่วมกัน การดูแลรักษาส้มโอหอมควนลัง โดยทางเทศบาลเมืองควนลังจะช่วยเหลือในด้านต่างๆ ให้แก่เกษตรกร ส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) คือ แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี โดยส้มโอหอมควนลังเป็นพืช Gl ผลไม้ชนิดแรกของจังหวัดสงขลา อีกทั้งบทบาทของโรงเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในลักษณะแหล่งการเรียนรู้ ให้นักเรียนเข้าไปดูกระบวนการวิธีการปลูก และการผลิต เป็นสินค้าหรือกระบวนการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสวนส้มโอ พาไปลงพื้นที่จริง ในรายวิชาการงานอาชีพ หรือกลุ่มชุมนุมที่สนใจ เมื่อทางเทศบาลได้มีการจัดงานนิทรรศการ ทางโรงเรียนก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย มีการอำนวยสถานที่และให้นักเรียนไปช่วยงาน ซึ่งทางโรงเรียนและทางเทศบาลได้มีการจัดประชุมร่วมกัน และเมื่อเทศบาลมีกิจกรรมก็จะเชิญในส่วนทางโรงเรียนเข้าร่วมด้วยข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย เพื่อให้มีความยั่งยืน ควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างชาวสวนกับชาวสวนด้วยกัน การเสนอโครงการจากความเห็นของชุมชนต่อเทศบาลเมืองควนลังเพื่อให้รัฐมีกระบวนการดูแลในเรื่องของการพัฒนาสายพันธุ์หรือการดำรงสายพันธุ์ให้คุณภาพคงที่และ การให้ทางชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมการประเมินในกิจกรรม Open House ของโรงเรียน |
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การบริหารงานแบบประสานความร่วมมือต่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา สวนส้มโอหอมควนลัง จังหวัดสงขลา
|
|
|