การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

วิไลลักษณ์ ลบลาย

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2566

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” 2) การสร้างและหาคุณภาพหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” และ 3) การศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” กลุ่มเป้าหมายในขั้นตอนที่ 1 ประกอบด้วย ครูผู้สอน รายวิชานาฏศิลป์ ผู้ปกครองนักเรียน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงซัมเป็ง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายในขั้นตอนที่ 2 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ด้านการแสดงซัมเป็ง และด้านการวัดและประเมินผล กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่ 3 ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/16 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยขั้นตอนที่ 1 ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น สำหรับครูผู้สอน รายวิชานาฏศิลป์ 2) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น สำหรับผู้ปกครอง 3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงซัมเป็ง และ 4) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเพื่อสอบถามความต้องการและความสนใจ สำหรับนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยขั้นตอนที่ 2 ประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” และ 2) แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยขั้นตอนที่ 3 ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะปฏิบัติ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอน รายวิชานาฏศิลป์ ผู้ปกครอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงซัมเป็ง และนักเรียนพบว่า ต้องการให้พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เนื่องจากซัมเป็ง เป็นการแสดงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ อีกทั้งเป็นการสืบสาน และปลูกฝังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแสดงพื้นบ้านในท้องถิ่นของตนเองให้คงอยู่ต่อไป 2) ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน เห็นว่าหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะปฏิบัติ การแสดงซัมเป็ง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ 5) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ “ซัมเป็ง” เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4