ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
อัญชสา สีนวนแก้ว, วิสิทธิ์ บุญชุม, มุมตาส มีระมาน, ร่มฉัตร ขุนทอง, สุกานดา จันทวี |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2567 |
|
เลขหมู่: |
||
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศของเกษตรในตาบล อุใดเจริญ อาเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ก่อนนาไปสู่การพัฒนาต้นแบบ Rural Wisdom Park : Satun ที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะการทาการเกษตรอัจฉริยะ 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบ Rural Wisdom Park : Satun ที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะการทาการเกษตรอัจฉริยะของเกษตรกรในตาบลอุใดเจริญ อาเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล และ 3) เพื่อประเมินการจัดการทรัพยากรที่ดินเพื่อการทาการเกษตรอัจฉริยะอย่างยั่งยืนในแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ Rural wisdom park: Satun ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มข้อมูลหลัก 4 กลุ่มได้แก่ 1) เกษตรกร 25 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรและการใช้เทคโนโลยีเกษตร และ 4) เกษตรกรที่นาแนวคิดเกษตรอัจฉริยะไปปรับใช้ จานวน 15 คน และใช้การสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 กลุ่ม เพื่อยืนยันแหล่งเรียนรู้ต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ การวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 กับ 2 ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 การประมวลผลระดับความยั่งยืนทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โปรแกรม ARCVIEW version 9.3 ชุดคาสั่ง Model Builder ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. พฤติกรรมสารสนเทศของเกษตร ประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้ ภาวะความกดดันจากสถานการณ์ปัญหา ความต้องการสารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศ การใช้สารสนเทศ และการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยไม่เรียงตามลาดับขั้นตอน การแสวงหาสารสนเทศอาจมีการย้อนกลับเมื่อสารสนเทศไม่ตรงกับความต้องการ หลักการตั้งคาถามและการประเมินสารสนเทศมีความสาคัญ และการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนสารสนเทศมีลักษณะไม่เป็นทางการในชุมชนเกษตรกร โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการแบ่งปันและแลกเปลี่ยน 2. ต้นแบบแหล่งเรียนรู้ Rural wisdom park: Satun ที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะการทาการเกษตรอัจฉริยะ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ข้อมูลที่จาเป็นสาหรับเกษตรอัจฉริยะ ประกอบด้วยข้อมูลตามกระบวนการทาการเกษตร 2) ผู้ให้ข้อมูล/ผู้ถ่ายทอด คือผู้ที่มีคุณลักษณะ 9 ประการ ดังนี้มีความรู้เชี่ยวชาญทางการเกษตร บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ทักษะสื่อสารดี ใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิต รู้เกี่ยวกับการเกษตรสมัยใหม่ มีผลงานวิชาการ ได้รับรางวัลด้านเกษตร เป็นเกษตรกรตัวอย่าง และเป็นเจ้าของแหล่งเรียนรู้เกษตร 3) การออกแบบและการจัดลาดับ จัดตามกระบวนการเพาะปลูก 4) กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การอบรมทั้งในสถานที่และออนไลน์ การปรึกษาเกษตรอัจฉริยะ ชมแปลงสาธิต และเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะ 5) สื่อการเรียนรู้ มีความหลากหลายและมีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้ได้ น่าสนใจ สีสันสดใส โดดเด่น มีเอกลักษณ์ เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย 6) สถานที่ กระท่อมความรู้ และแปลงสาธิต 7) การบริหารจัดการ ประกอบด้วย ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ และ 8) เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ 4 ระบบ ได้แก่ ระบบจ่ายน้าทางการเกษตรแบบอัตโนมัติ ระบบการให้ปุ๋ยอัตโนมัติผ่านมือถือสมาร์ตโฟน ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม และระบบกับดักแมลงแบบอัตโนมัติผ่านระบบ Clouds ทุกระบบควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน 3. ประเมินการจัดการทรัพยากรที่ดินเพื่อการทาการเกษตรอัจฉริยะอย่างยั่งยืน เป็นการพัฒนาการเกษตรด้วยเทคโนโลยี โดยไม่สูญเสียความต้องการของคนรุ่นอนาคต และมีความสมดุลระหว่างปัจจัยเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) ผลผลิต ติดตามผลผลิตที่ได้ 2) ความเสี่ยงและความมั่นคง วิธีการจัดการที่สมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงของผลผลิต 3) การป้องกัน การให้ความสาคัญกับการเพิ่มมาตรการอนุรักษ์ 4) ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ 5) การยอมรับของสังคม เป็นที่ยอมรับของสังคมในพื้นที่ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
กระบวนการทางพฤติกรรมสารสนเทศสู่การพัฒนาต้นแบบ Rural Wisdom Park : Satun |
|