การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล : กรณีศึกษาตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

เดชอุดม ขุนทอง

สำนักพิมพ์: 

สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2550

เลขหมู่: 

ว.พ.631.587 จ67ก

รายละเอียด: 

การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ ระดับการมีส่วนร่วมและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ของประชาชนในตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา กับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแบบพัฒนาตำบล ตามองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษาข้อมูลพื้นฐานชุมชน ด้ารการวิเคราะหืปัญหาพื้นฐานของชุมชน ด้านการประเมินศักยภาพของชุมชน ด้านการจัดเวทีเพื่อเสนอและเลือกทางเลือก และด้านการวิเคราะห์จัดทำแบบแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี แผนธุรกิจชุมชนและแผนปรับปรุงฟื้นฟูทรัพยากร ตลอดจนเพื่ประมวลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ ประชาชนในตำบลพิจิตร จำนวน 292 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักอีก 10 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแคว์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นตัวแทนชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เพศ ระดับการศึกษา รายได้ของครัวเรือน ตำแหน่งทางสังคม และภาวะหนี้สิน ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล ส่วนตัวแปรอายุ ระยะเวลาการอยู่ในท้องถิ่น และการเป็นสมาชิกกลุ่มมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประชาชนมองเฉพาะปัญหาของตนโดยไม่ให้ความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล และยังขาดข้อมูลที่แท้จริงในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล ดังนั้นแนวทางที่จะแก้ไขหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรกำหนดแผนและนโยบายมาตรการต่าง ๆในการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล โดยการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน และให้ประชาชนได้เห็นประโยชน์และความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ องค์การบริหารส่วนตำบล ได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และมีความรู้ความเข้าใจต่อการจัดทำแผนพัฒนาตำบลตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาของชุมชน และร่วมกันผลักดันแผนงาน กิจกรรมโครงการจากแผนพัฒนาตำบลสู่การปฏิบัติ มาเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลอย่างแท้จริง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก ก

ภาคผนวก ข

ประวัติผู้วิจัย