ความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2538

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ศิริรักษ์ จวงทอง

สำนักพิมพ์: 

คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2539

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจและความคิด เห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2538 ของประชาชนในจังหวัดสงขลา ลักษณะทางด้าน เศรษฐกิจและสังคม พฤติกรรมการรับข่าวสารโดยทั่วไปและข่าวสารการเลือกตั้งของประชาชน และศึกษา ว่ามีปัจจัยใดบ้างจากลักษณะทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ สมรส ศาสนา อาชีพ รายได้ ภูมิลําเนาตามทะเบียนบ้าน และการเป็นสมาชิกกลุ่ม) พฤติกรรมการรับข่าว สารโดยทั่วไปและพฤติกรรมการรรับข่าวสารการเลือกตั้งที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เพื่อนําผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะในจังหวัดสงขลา การวิจัยนี้ใช้แบบสัมภาษณ์สัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ หลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จากประชากรตามหน่วยเลือกตั้งต่าง ๆ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้ทั้งสิ้น 250 ราย ส่วน การวิเคราะห์ข้อมูลนั้นใช้สถิติพรรณนา t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างเป็นชายและหญิงในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26-45 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรสแล้ว นับถือศาสนาพุทธ มีอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล และไม่เป็นสมาชิกของกลุ่มใด ๆ ส่วน พฤติกรรมในการรับข่าวสารของกลุ่มตัวอย่างโดยทั่วไปมีลักษณะบ่อยครั้ง นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างได้รับข่าว สารการเลือกตั้งจากบุคคลและจากโทรทัศน์เป็นสื่อที่กลุ่มตัวอย่างเลือกว่าได้ให้ข่าวสารโดยทั่วไปและข่าวสารการเลือกตั้งมากที่สุด 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ค่อนข้างมาก แต่น่าสังเกตว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใด และไม่ทราบว่าหน้าที่สําคัญของผู้แทนราษฎรคืออะไร 3. เหตุผลสําคัญที่สุดที่ทําให้กลุ่มตัวอย่างไปเลือกตั้งครั้งนี้เพราะเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ของพลเมืองดี และต้องการคนที่พอใจเป็นผู้แทนราษฎร 4. การเพิ่มชื่อในรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีปัญหามากที่สุด ในขณะที่การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นไปโดยสะดวก 5. ผลการทดสอบสมมติฐานปรากฏว่า ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งของกลุ่ม ตัวอย่างที่จําแนกตามสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ภูมิลําเนาตามทะเบียนบ้าน พฤติกรรมการรับข่าวสารโดยทั่วไป และพฤติกรรมการรับข่าวสารเลือกตั้งจากสื่อต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

สารบัญ

บทคัดย่อ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 การศึกษาเอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการดำเนินวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปราย และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก