รายงานการติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีจากสถาบันราชภัฏสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สำนักวิจัย สถาบันราชภัฏสงขลา

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2542

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปีการศึกษา 2540 - 2541จากสถาบันราชภัฏสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาภาวะการมีงานทำ รายได้ การประกอบอาชีพความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่เรียนมา และคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีภาคปกติ ปีการศึกษา 2540 - 2541 จากสถาบันราชภัฏสงขลา จำนวน 584 คน การวิจัยนี้เป็นการวิชัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างและพัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการคิดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2540 – 2541 สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ การเก็บรวบรวมข้อมูลเก็บจากผู้สำเร็จการศึกษาที่มาซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตรในเดือนกุมกาพันธ์ 2542 และเก็บจากผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่มาซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตรด้วยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ โดยเขียนโปรแกรมขึ้นจากโปรแกรมสำเร็จรูป Fox Pro for Wir ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1.ภาวะการมีงานทำ จากจำนวนผู้สำเร็จการที่ศึกษาทั้งหมด 709 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 584 คน คิดเป็นร้อยละ 82.37 ของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้มีงานทำ ร้อยละ 17.26 กำลังรองาน และร้อยละ 1.18 กำลังศึกษาต่อและมิได้ทำงาน ผู้สำเร็จการศึกษาร้อยถะ 97.39 มีภูมิสำเนาเดิมอยู่ในภาคใต้ และร้อยละ 90.23 ของผู้มีภูมิลำนาเดิมอยู่ในภาดใต้ มีงานทำอยู่ในภูมิลำนาเดิมคือภาคใต้ ในการศึกษาเกี่ยวกับภาระการแสวงหางานทำ ปรากฏว่า ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ได้ไปสมัครงานกับหน่วยงาน 23 แห่ง มากที่สุด รองลงมาก็ไปสมัครงานกับหน่วยงาน 4 - 5 แห่ง และ 1 แห่ง ตามลำดับ ในเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาในการแสวงหางานทำพบว่า ผู้สำเร็จการศึกษาร้อยละ 56.07, 24.26, 18.80 7.87 ใช้เวลาในการแสวงหางานทำ 1 - 2 เดือน, 3 - 4 เดือน, 5 - 6 เดือน และมากกว่า 6 เดือน ตามลำดับ ส่วนในเรื่องที่เกี่ยวปัญหาการหางานทำ ผู้สำเร็จการศึกษาที่ตอบแบบสอบถามข้อนี้ตอบว่า ปัญหาสำคัญ 5 อันดับแรกตามลำดับ คือ การใช้พวกมากในการสมัครงาน การได้เงินเดือนต่ำกว่าวุฒิ การสอบเข้าทำงานไม่ได้ ที่ทำงานอยู่ห่างไกลภูมิลำเนาเดิม และต้องลดวุฒิในการสมัครงาน 2. รายได้ และอาชีพ ผู้สำเร็จการศึกษาร้อยละ 46.58 มีรายได้ต่ำกว่าวุฒิ ร้อยละ 44.31 มีรายได้สอดคล้องกับวุฒิ และร้อยถะ 9.11 มีรายได้สูงกว่าวุฒิ ในการศึกษาเกี่ยวกับอาชีพ ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาการศึกมา ร้อยละ 80.52 ประกอบอาชีพใน 3 สาขาอาชีพ คือรับราชการ (ร้อยละ 30.52) ถูกจ้างชั่วคราว (ร้อยถะ 28. 1) และครูหรือเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษาเอกชน (ร้อยถะ 14.86) ในสาขาวิทยาศาสตร์ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานราชการมากที่สุด รองลงมาคือ พนักงานบริษัทธุรกิจองค์กรเอกชน ครู/เจ้าหน้าที่ในสถานศึกษาเอกชน และอาชีพอิสระเจ้าของกิจการคิดเป็นร้อยละ 42.50 27.50, 12.50 และ 10.00 ตามลำดับ ส่วนผู้สำเร็จการศึกษาสาขาศิลปศาสตร์นั้น ร้อยละ 47.46 เป็น พนักงานบริษัท หรือองค์กรธุรกิจเอกชน ร้อยละ 22.03 เป็นลูกร้างชั่วคราว และร้อยละ 11.86 ประกอบอาชีพอิสระเจ้าของกิจการ 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่เรียนมา สำเร็จการศึกษาสาขาการศึกษา ร้อยละ 37.82 มีความเห็นว่าสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปใช้ประโยชน์ได้ปานกลางร้อยละ 33.97 และ 15.60 ตามลำดับ มีความเห็นว่า สามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปใช้ประโยชน์ได้มากและมากที่สุด ในเรื่องเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวกับ วิชาที่ควรเพิ่มเติมเข้าไปในหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรเพิ่มเติมวิชา คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ และการฝึกปฏิบัติจริงเข้าไปในหลักสูตรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 81.13, 57.44 และ 53.04 ตามลำดับ 4. คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาที่น่าพึงพอใจที่สุด 5 ประการแรก คือ ความซื่อสัตย์ ความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรักเพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดก้อม ความเสียสละ ความยึดมั่นปฏิบัติตามคุณธรรมทางศาสนา ตามลำดับ และคุณลักษณะที่ควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด ตามลำลับ 5 ประการคือ ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร ความสามารถใน การคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการมีความรู้ซึ้งในวิชาที่เรียน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

หน้าปก

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา

บทที่ 4 ผลที่ได้จากการศึกษา

บทที่ 5 สรุปผลการประเมินและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก