ภูมิปัญญาไทย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากเรื่อง

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อำนวย ยัสโยธา

สำนักพิมพ์: 

ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2542-2543

เลขหมู่: 

398.2 อ215ภ

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาภูมิปัญญาไทยจากนิทานเรื่องศรีธนญชัย โดย มุ่งเน้นศึกษาในแง่ของการใช้ปฏิภาณไหวพริบเชิง “แฟล-ละซิ” ตามกรอบความคิดของตรรก วิทยา โดยกําหนดขอบเขตด้านเนื้อหาไว้ที่ฉบับสํานวนที่เล่าขานและมีเอกสารเผยแพร่เป็น ภาษาไทยเป็นสําคัญ ส่วนวิธีวิจัยกระทําโดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเท่าที่มีอยู่ ทั้งที่พิมพ์ เป็นรูปเล่ม, งานวิจัย, เทปโทรทัศน์ และที่จารลงในใบลานเป็นอักษรตัวธรรม รวมทั้งสอบ ถามจากผู้รู้เพิ่มเติม แล้วนําข้อมูลที่ได้มาทําการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามกรอบความคิด ของตรรกวิทยา และนําเสนอรายงานการวิจัยในรูปแบบของการพรรณนาวิเคราะห์ ผลจากการศึกษาพบว่า นิทานประเภทมุขตลกในลักษณะนี้มีเล่าขานกันอยู่หลาย ประเทศในแถบอุษาคเนย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีท้องเรื่องคล้ายคลึงกัน เฉพาะฉบับสํานวนของ ไทย มีวัตถุประสงค์หลักที่จะแสดงให้เห็นว่า “ปัญญา” เหนือกว่า “อํานาจ” แต่วิธีใช้ปัญญา ของตัวเอกของเรื่องจะเป็นไปในลักษณะของความฉลาดแกมโกง แต่ถ้าจะนําเอาการใช้ ปฏิภาณไหวพริบของศรีธนญชัยมาแตกออกเป็นวัตถุประสงค์ย่อย จะได้เป็น 5 ประการ คือ (๑) ใช้เพื่อเอาตัวรอดในยามคับขัน (๒) ใช้เพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะในการพนัน ขันต่อ (๓) ใช้เพื่อเอาเปรียบ ข่มเหงรังแกผู้อื่น (๔) ใช้เพื่อแก้แค้นหรือกระทําตอบผู้อื่น (๕) ใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน และ (๖) ใช้เพื่ออวดภูมิปัญญาของตนว่าเหนือกว่าผู้ เนย ถ้าจะนําเอากรอบความคิดของตรรกวิทยาสมัยใหม่มาเป็นบรรทัดฐานในการเปรียบ เทียบ พบว่า ระบบตรรกะของศรีธนญชัย ไม่เป็นทั้งตรรกวิทยาเชิงรูปแบบและตรรกวิทยาเชิง เนื้อหา คือ เป็นการใช้เหตุผลที่ไม่คํานึงถึงความถูกต้องทั้งทางด้าน “รูปแบบ” และ “เนื้อหา” มุ่งเพียงแต่ใช้เหตุผลเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้ามเป็นสําคัญ หรือถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ระบบตรรกะของศรีธนญชัย ไม่เป็นทั้งตรรกวิทยาแบบนิรนัยและตรรกวิทยาแบบอุปนัย คือ มิได้มุ่งพิสูจน์ความรู้หรือยืนยันทฤษฎีที่มีอยู่เดิม และมิได้มุ่งแสวงหาข้อมูลเพื่อนํามาสร้าง เป็นทฤษฎีใหม่แต่อย่างใด และยังพบอีกว่าระบบตรรกะตามแบบฉบับของศรีธนญชัย จะถูก สร้างขึ้นโดยกลวิธีหลัก ๆ ๒ ประการ คือ (๑) หยิบฉวยเอาเหตุการณ์ในชีวิตประจําวัน มา เล่นเล่ห์เพทุบาย ให้ฝ่ายตนได้เปรียบ และ (๒) หยิบฉวยเอาข้อบกพร่องทางภาษา มาบิดวาที ให้ฝ่ายตนได้เปรียบ ในการใช้ปฏิภาณไหวพริบทั้งหมดพบว่า ศรีธนญชัยใช้กลวิธีทั้งสองนี้ ในอัตราส่วนที่พอ ๆ กัน - แต่ถ้าจะประยุกต์อธิบายในเชิงแฟล-ละซิ ตามกรอบความคิดของตรรกวิทยาสมัยใหม่ พบว่า ตรรกวิทยาของศรีธนญชัยจะไม่เป็นแฟล-ละซิด้านรูปแบบ เพราะตรรกะในลักษณะนี้ ไม่มีรูปแบบ แต่ก็พอประยุกต์เข้าเป็นแฟล-ละซิด้านเนื้อหาในแง่ที่นําเอาเนื้อหาที่ได้มาเปรียบ เทียบผิดแง่ เล่นแง่อย่างผิด ๆ เพื่อเป็นการศอกกลับหรือกระทําตอบฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้า พิจารณาให้ดีแล้ว พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นแฟล-ละซิค้านภาษา คือ หยิบฉวยเอาข้อบกพร่อง ทางภาษามาบิดวาทีให้ตนเองได้เปรียบ ส่วนที่เหลือจากนั้นจะเป็นแฟล-ละซิด้านจิตวิทยา หรือแฟละละซิพราะการทิ้งเหตุผล คือ ทิ้งเหตุผลเสียเฉย ๆ หรือนําเอาสิ่งที่ไม่ใช่เหตุผลมาอ้าง แทนเหตุผลเพียงเพื่อให้ตนเองเป็นฝ่ายได้เปรียบ นอกจากในแง่ตรรกวิทยาแล้ว พบว่า นิทานเรื่องนี้ได้สะท้อนข้อคิดหลายอย่าง เช่น พิสูจน์ให้เห็นว่า “คนเก่ง” ไม่จําเป็นต้องเป็น “คนดี”, คนโง่ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด, ผู้ ที่ยึดมั่นถือมั่นในอัตตาแห่งตน ย่อมนําทุกข์มาให้, ผู้ที่กระทํากรรมใดไว้กรรมนั้นย่อมต้อง สนอง และคติเตือนใจสําคัญ คือ ชีวิตตามแบบฉบับของศรีธนญชัยเป็นสิ่งที่ “เอาเยี่ยงได้ แต่ ไม่ควรเอาอย่าง” คือ รู้ไว้เพียงเพื่อประเทืองปัญญา แต่ไม่ควรนํามาใช้ในการดําเนินชีวิตจริง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 สังเขปเกี่ยวกับลักษณะของ แฟล-ละซิ

บทที่ 3 สังเขปเกี่ยวกับนิทาน เรื่อง ศณีธนญชัย และปริบทที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 4 วิเคราะห์บทบาทการใช้ปฏิภาณไหวพริบเชิง แฟล-ละซิ และบทบาทอื่น ๆ ของศรีธนญชัย

บทที่ 5 บทสรุป

บรรณานุกรม

ประวัติผู้วิจัย