ศึกษาอิทธิพลของสาร BA (Benzyladenine) และ 2,4-D(Dichlorophenoxyacetic acid) ต่อการเจริญเติบโตของคัพภะกฤษณา(Aquilaria malaccensis) ที่เลี้ยงในสูตรอาหารสังเคราะห์ MS : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

แปลก พิมลไทย, สุรัชต์ เกียรติเดชาวิทย์

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

ศึกษาอิทธิพลของ BA (Benzyladenine ) และ 2,4-D( Dichlorophenoxyacetic acid) ต่อการเจริญเติบโตของคัพภะกฤษณา (Aquilaria malaccensis Roxb.) ที่เลี้ยงในสูตรอาหารสังเคราะห์ MS (Murashige & Skoog 1962) ที่เติม BA ความเข้มข้น 1.0 , 2.0 และ 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ 2,4-D ความเข้มข้น 0.1 ,0.3 ,0.5 และ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตรในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อผลิตกฤษณาที่ปลอดโรคและขยายพันธุ์ให้ได้จํานวนมากในระยะเวลาอันสั้นวางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) จํานวน 4 ซ้ำ 12 สิ่งทดลอง โดยใช้เทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นระยะเวลา 60 วัน พบว่าสูตรอาหารที่ใช้ MS ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตรและ 2,4-D ความ เข้มข้น 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนําให้เกิดยอดได้ 10 ยอด/เอมบริโอ สูตรที่ใช้MS ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 2,4-D ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร เกิดยอดได้ 7 ยอด/ เอมบริโอ สูตรที่ใช้MSร่วมกับ BA ความเข้มข้น 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ2-4,D ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เกิดยอดได้ 3 ยอด/เอมบริโอ และสูตรที่ใช้ MS ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 2,4-D ความเข้มข้น 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตรไม่สามารถชักนําให้เอมบริโอเกิด ยอดได้ แต่สามารถชักนําให้เกิดแคลลัสได้ และทุกสูตรอาหารไม่เกิดราก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิจัย

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม