การวิเคราะห์นวนิยายภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเมืองไทย : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เพียงใจ ผลโภค

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฉากเกี่ยวกับเมืองไทยที่ปรากฏในนวนิยาย ยุคปัจจุบันของชาวต่างชาติ นวนิยายที่นํามาศึกษามีจํานวน 3 เรื่อง เพื่อที่จะได้เห็นแนวคิดที่นําเสนอต่อคนกลุ่มต่าง ๆ ไม่มีเนื้อหาที่เสื่อมเสียทางศีลธรรม เรื่องแรกเป็นหนังสือที่มี การนําไปใช้กันในชั้นเรียนของนักเรียนต่างชาติ คือ Rice Without Rain ของ มิน ฟง โห (Min Fong Ho) เรื่องที่สองเป็นหนังสือที่เคยติดอันดับหนังสือขายดี คือ เรื่อง Kingdom of Make-Believe ของ คืน บาร์แรต (Dean Barrett) และเรื่องที่สามมีการตีพิมพ์และเผยแพร่โดยตัวผู้เขียนเอง คือ เรื่อง The Big Mango ของ เจค นีคแฮม (Jake Needham) กรอบแนวคิดการศึกษานวนิยายทั้งสามเรื่อง ใช้แนวการการวิเคราะห์ของเอดการ์ วี โรเบิร์ตส์ (Edgar V. Roberts) เอม, เอช. เอแบรมส์ (M.H. Abrams) และ ธัญญา สังขพันธานนท์ โดยกรอบแนวคิดการศึกษาเรื่องฉากมี ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ในเรื่องฉากที่เป็นรูปธรรม และ ฉากที่เป็นนามธรรม ผลการวิเคราะห์ฉากและเนื้อหาที่เกี่ยวกับเมืองไทยที่สอดแทรกอยู่ในกรณีศึกษา มีดังนี้คือ 1. ด้านช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ นวนิยายทั้งสามเรื่องใช้เมืองไทยเป็นฉาก โดยอ้างอิงเหตุการณ์ที่คนทั่วโลกรู้จักกันดี คือ Rice Without Rain ใช้เหตุการณ์การต่อสู้เพื่อ เรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย โดยกําหนดเหตุการณ์เป็นระยะปี พ.ศ. 2517 เรื่อง The Big Mango และ เรื่อง Kingdom of Make - Believe ใช้เหตุการณ์ สงครามเวียตนามที่มีทหารอเมริกันมาพักผ่อนในเมืองไทย แต่เวลาที่แสดงเรื่องราวต่างกัน เรื่อง The Big Mango กล่าวถึงสภาพเมืองไทยหลังสงครามเวียตนาม ประมาณ 40 ปี และ เรื่อง Kingdom of Make - Believe เป็นสภาพหลังสงครามเวียตนามประมาณ 20 ปี 2. ด้านฉากที่เป็นรูปธรรม 2.1 ด้านสภาพที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ สถานที่นั้น นวนิยายกลุ่มตัวอย่างทั้งสามเรื่อง ล้วนพูดถึง กรุงเทพฯ คือ เรื่อง Rice Without Rain ที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ที่นิสิต นักศึกษา ต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ใช้ฉากที่เป็นสถานที่ในกรุงเทพฯ ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ หัวลําโพง สนามหลวง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง Kingdom of Make – Believe และ เรื่อง The Big Mango ใช้ฉากสถานที่ในกรุงเทพฯ ที่ทหารอเมริกันมาเที่ยวขณะพักรบสงครามเวียตนาม คือ บริเวณ ซอยนานาถนนพัฒนพงศ์ ถนนสีลม ซอยคาวบอย โรงแรมชั้นหนึ่งและโรงแรมชั้นสองของกรุงเทพฯ นวนิยาย ทั้งสามเรื่องมีลักษณะร่วมในการพูดถึงสภาพทางกายภาพของกรุงเทพฯ ที่เป็นตรอกซอกซอย และส่วนที่เกี่ยวพันกับชีวิตของคนชั้นกลาง และระดับล่างของสังคมไทย โดยเฉพาะกลุ่ม เกษตรกรที่อพยพมาขายแรงงานในกรุงเทพฯ ลักษณะกายภาพของกรุงเทพฯ ที่ได้รับสมญาว่าเป็นเมืองสวรรค์ อันควรสะท้อนถึงความงดงามและความสุข กลับมีมุมมองจากนวนิยายทั้งสามเรื่องว่าสิ่งที่เป็น ความงดงามและความสุขนั้น อาจเคยเป็นจริงในอดีต แต่ภาพปัจจุบันที่สะท้อนผ่าน นวนิยายทั้งสามเรื่อง เป็นภาพของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ที่ไม่มีความงามแบบเมืองสวรรค์ ให้เห็นอีกแล้ว เพราะในนวนิยายทั้งสามเรื่องล้วนแต่สะท้อนภาพของความสกปรก สภาพชุมชนแออัด การจราจรคับคั่ง สินค้าปลอม การฆาตกรรม การทุจริตติดสินบน การหลอกลวงและการค้ายาเสพติด ไม่มีภาพของความงามที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือน ประเทศไทย เรื่อง Rice Without Rain มีการกล่าวถึงเทือกเขาเชียงดาวและเชียงใหม่ แต่ก็เป็นการกล่าวถึงความแห้งแล้ง ชีวิตลําเค็ญของชาวนาไทย เรื่อง The Big Mango ให้สมญานามกรุงเทพฯว่า เป็นเมืองหลวงแห่งโลกลี้ลับ เพราะเป็นเมืองที่เป็นแหล่งรวมของสิ่งผิดกฎหมาย แม่น้ำลําคลองยังเป็นที่พักอาศัยของผู้คนในเรื่อง Kingdom of Make - Believe ในเรื่อง The Big Mango ก็แสดงภาพของชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ตามลําแม่น้ําเจ้าพระยา และคลองแสนแสบก็มีสภาพเป็นท่อระบายน้ำโสโครก 3. ด้านฉากที่เป็นเชิงนามธรรม นวนิยายทั้งสามเรื่องแสดงสภาพของเมืองไทย ว่าเป็นเมืองที่ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ มีการบรรยายสภาพการใช้ชีวิตแบบชาวพุทธ และการใส่บาตร นวนิยายภาษาอังกฤษทั้งสามเรื่อง มีเนื้อหาที่เกี่ยวพันกับสังคมไทย อันสืบเนื่องมาจากการใช้ฉากที่ดําเนินเรื่องในเมืองไทย การพรรณนาเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพเมืองไทย ปัจจุบัน ในแง่ของภาพความจริงที่อาจเห็นได้ในชีวิตประจําวัน ทั้งในแง่ทางรูปธรรมและ นามธรรม หากนํามาให้นักศึกษาไทยได้อ่าน เนื้อเรื่องที่เป็นนวนิยายจะมีลักษณะที่ชวนให้ นักศึกษาติดตามอ่านด้วยความเพลิดเพลิน ได้พัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษ ในนวนิยายจะช่วยให้ ผู้อ่านได้คําศัพท์ ได้แนวทางการใช้ภาษาอังกฤษพูดเรื่องเกี่ยวกับ เมืองไทย การเรียนรู้สภาพเมืองไทยที่เผยแพร่ไปในกลุ่มคนต่างชาติในรูปของ นวนิยาย สามารถนํามาใช้เป็นสิ่งจูงใจให้นักศึกษามีการคิดวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนหรือโต้แย้งการ นําเสนอสภาพบ้านเมืองของตนเอง ในงานเขียนของคนต่างชาติ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 แนวคิด

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก