การประยุกต์ใช้งานด้านเสียงของยางธรรมชาติ : แผ่นดูดซับเสียง (Sound application of natural rubber : I. Sound absorber) : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุเพ็ญรัตน์ สุวรรณรักษา, อาฮามัด ดอเลาะ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.668.9 ส46ก

รายละเอียด: 

ในการศึกษาครั้งนี้ ทําการศึกษาการนํายางธรรมชาติมาผลิตเป็นแผ่นดูดซับเสียง โดยทําการศึกษาอิทธิพลของสารลดแรงตึงผิว ขนาดรูพรุน ความพรุน ชนิดของสารตัวเติม และรูปแบบของแผ่นดูดซับเสียง จากการทดลองพบว่า ในการทดลองความดังของเสียงที่ความดังต่างๆนั้นปริมาณสารลดแรงตึงผิวที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 phr. จะทําให้เปอร์เซ็นต์การดูดซับเสียงลดลง ซึ่งสอดคล้องกับขนาดรูพรุนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อปริมาณของสารลดแรงตึงผิวเพิ่มขึ้น ความพรุนของแผ่นดูดซับเสียงที่เพิ่มขึ้นจะทําให้ เปอร์เซ็นต์การดูดซับเสียงเพิ่มมากขึ้น โดยความพรุนจะลดลงกับปริมาณของสารลดแรงตึงผิวที่เพิ่มขึ้น ความหนาของแผ่นดูดซับเสียงที่เพิ่มขึ้นจะทําให้ การดูดซับเสียงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในการใช้สารตัวเติมในแผ่นดูดซับเสียงพบว่า ซิลิกา จะ สามารถทําให้แผ่นดูดซับเสียงดูดซับเสียงได้ดีที่สุด โดยรองลงมาจะเป็น เขม่าดํา และแคลเซียมคาร์บอเนต ตามลําดับ สําหรับรูปแบบของแผ่นดูดซับเสียงนั้นพบว่า แบบ C ซึ่งเป็นแบบที่มีพื้น ที่ผิวสัมผัสมากที่สุด จะให้การดูดซับเสียงดีที่สุด สําหรับในการดูดซับเสียงที่ความถี่ต่างๆนั้นพบว่า ที่ความถี่ต่ำ กลาง และสูง ปริมาณสารลดแรงตึงผิว 1.5 phr. สามารถดูดซับเสียงได้ดีที่สุด ความหนาของแผ่นดูดซับเสียงที่เพิ่มขึ้นจะทําให้ ดูดซับเสียงได้เพิ่มขึ้นทั้งที่ความถี่ต่ำ กลาง และสูง ใน การใช้สารตัวเติมที่ความถี่ต่ำ และสูง ซิลิกา สามารถดูดซับเสียงได้ดี แต่ที่ความถี่กลาง เขม่าดําสามารถดูดซับเสียงได้ดี ส่วนรูปแบบแผ่นดูดซับเสียง รูปแบบ C สามารถดูดซับเสียงได้ดีที่สุดทั้ง ความถี่ต่ำ กลาง และสูง ดังนั้น จากการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่ายางธรรมชาติสามารถทําเป็นแผ่นดูดซับเสียงได้ โดยเฉพาะที่ความถี่สูง แผ่นดูดซับเสียงจากยางธรรมชาติสามารถดูดซับเสียงได้ดี การใช้ ซิลิกา เป็นสารตัวเติม การเพิ่มความหนา และพื้นที่ผิวสัมผัสของแผ่นดูดซับเสียง สามารถ เพิ่มความสามารถในการดูดซับเสียงได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 ทฤษฎี

บทที่ 3 วิธีการวิจัย

บทที่ 4 ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง

บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง

บรรณานุกรม

ภาคผนวก