ศึกษาศักยภาพการผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการบริโภคในภาคใต้ตอนล่าง (Study on the Potential of Vegetable Soybeans for Consumption Production in the Lower Southern of Thailand): รายงานวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุรพล มนัสเสรี

สำนักพิมพ์: 

ภาควิชาเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรม

ปีที่พิมพ์: 

2541

เลขหมู่: 

ว.635.65 ส47ร

รายละเอียด: 

ถั่วเหลืองฝักสดเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคพอสมควรแต่ยังไม่ได้รับการส่ง เสริมให้ปลูกในภาคใต้ จึงได้ทําการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาลักษณะต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบหาพันธุ์ ถั่วเหลืองฝักสดผลผลิตสูง (2) หาระยะปลูกและอัตราปลูกที่เหมาะสมเพื่อทราบผลของระดับอัตราปลูกต่อองค์ประกอบของผลผลิต (3) หาชนิดและอัตราการให้ปุ๋ยที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด (4) นําผลงานวิจัยเผยแพร่แก่เกษตรกรเพื่อส่งเสริมให้ปลูกจําหน่ายในท้องถิ่น ทําการทดลองโดยใช้ถั่วเหลืองฝักสด 5 พันธุ์ คือ พันธุ์เชียงใหม่ 1 กําแพงแสน292 MJ 8862 S 2-1 TVB 4 และ Oofurisode ปลูก ณ สถานที่ต่างๆ 4 แห่ง ผลปรากฏว่าถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์กําแพงแสน 292 ให้ผลผลิตฝักสดสูงสุดเมื่อปลูกทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง และแปลงผักเกษตรกร อ.ควนกาหลง จ.สตูล แต่ที่แปลงผัก เกษตรกร ต.บางเหรียง พันธุ์เชียงใหม่ ให้ผลผลิตสูงสุด พันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำสุดคือพันธุ์ Oofurisode ซึ่งให้ผลผลิตต่ำสุดทุกสถานที่ปลูกทดลอง ทุกพันธุ์มีอายุวันงอก อายุเมื่อออก ดอกและอายุการเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกัน ส่วนลักษณะอื่น ๆ แตกต่างกันไปตามพันธุ์และสถานที่ปลูกทดลอง ในด้านการหาระยะปลูกและอัตราปลูกที่เหมาะสมผลปรากฏว่าระยะปลูก 60x10x2 (อัตราประชากรปลูก 53,328 ต้น/ไร่) ให้ผลผลิตสูงสุดแต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับระยะปลูกรองๆลงมา การเลือกชนิดและอัตราการให้ปุ๋ยที่เหมาะสมพบว่าการให้ปุ๋ยสูตร 15 15-15 อัตรา 100 กก./ไร่ร่วมกับปุ๋ยยูเรียแต่งหน้า 25-50 กก./ไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด ซึ่งขึ้นอยู่กับ ปริมาณการให้น้ำและน้ำฝนประกอบด้วย ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นข้อมูลแนะนำและส่ง เสริมให้เกษตรกรในภาคใต้ปลูกและจำหน่ายถั่วเหลืองฝึกสดเพื่อการบริโภคได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

คำนิยม

สารบัญ

บทนำ

การตรวจเอกสาร

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

ผลการทดลอง

วิจารณ์ผลการทดลอง

สรุปผลการทดลอง

เอกสารอ้างอิง