การวิเคราะห์คุณค่าอาหารของสาหร่ายผมนาง (กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร) บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอก

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุรภีร์ วีรวานิช

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2544

เลขหมู่: 

ว.579.8 ส47ก

รายละเอียด: 

จุดมุ่งหมายในการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าอาหารของสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร (Gracilaria fisheri) บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอกเพื่อศึกษาด้านสัณฐานวิทยา (Morphology) และสภาพทางนิเวศวิทยา (Ecology) บางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร บริเวณตําบลเกาะยอ อําเภอเมือง ตําบลสทิงหม้อ อําเภอสิงหนคร และตําบลหัวเขา อําเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และเพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารในสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร ในฤดูฝนและฤดู ร้อนระหว่างเดือนกันยายน 2540 ถึงเดือนสิงหาคม 2541 โดยเก็บตัวอย่างจากจุดเก็บ 13 หมู่ บ้าน จํานวน 3 ตําบล บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอก มาตรวจวัด ขนาด ความกว้าง ความ ยาว การแตกแขนง (สาขา) ของทัลลัส และโฮลค์ฟาสท์ (Hold fast) ที่ทําหน้าที่แทนรากด้วย กล้องจุลทรรศน์ ผลการศึกษาด้านสภาพนิเวศวิทยาโดยวิเคราะห์น้ำทะเล ณ จุดเก็บสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร ในช่วงฤดูฝนน้ำลึกเฉลี่ย 0.88 เมตร ฤดูร้อน เฉลี่ย 0.71 เมตร อุณหภูมิของน้ำในฤดูฝนเฉลี่ย 30.58 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนเฉลี่ย 31.37 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด ด่าง (pH) ของน้ำฤดูฝนเฉลี่ย 7.26 ฤดูร้อนเฉลี่ย 8.46 ความขุ่นใสของน้ำ (NTU) ฤดูฝนเฉลี่ย 66.50 NTU ฤดูร้อนเฉลี่ย 13.36 NTU ความโปร่งแสงของน้ำ ฤดูฝน เฉลี่ย 1.16 เมตร ฤดูร้อนเฉลี่ย 0.34 เมตร ความเค็มของน้ำ ฤดูฝนเฉลี่ย 17.53 ส่วนในพัน ฤดูร้อนเฉลี่ย 34.06 ส่วนในพัน ออกซิเจนละลายน้ำ ฤดูฝนเฉลี่ย 5.69 มิลลิกรัม ฤดูร้อน เฉลี่ย 4.21 มิลลิกรัม ผลการศึกษาโครงสร้างของสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร ของตําบลเกาะยอ วัดความยาวทัลลัสเฉลี่ย 18.29 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางวัดได้เฉลี่ย 1.43 มิลลิเมตร การแตกแขนง (สาขา) เฉลี่ย 77 สาขา โฮลค์ฟาสท์วัดความยาวได้ 0.9 เซนติเมตร ทัลลัสมีสีเขียวขี้ม้าเข้ม สีม่วงแดงเข้ม และสีน้ำตาลปนแดงเข้ม ตําบลสทิงหม้อ ทัลลัสวัดความยาวได้ โดยเฉลี่ย 22.75 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวัดได้ 1.42 มิลลิเมตร การแตกแขนง (สาขา) นับได้ 80 สาขา โฮลค์ฟาสท์วัดได้ยาว 1.08 เซ็นติเมตร ทัลลัสมีสีเขียวขี้ม้าเข้ม (คล้ำ) ตําบลหัวเขา วัดความยาวทัลลัสได้โดยเฉลี่ย 22.70 เซ็นติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางวัดได้ 11.18 มิลลิเมตร การแตกแขนง (สาขา) นับได้ 66 สาขา ความยาวโฮลด์ฟสท์โดยเฉลี่ย 2.75 เซ็นติเมตร ทัลลัสมีสีม่วงแดง เขียวขี้ม้าเข้ม ผลการเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารสาหร่ายผมนาง กราซิลาเรีย ฟิชเชอไร ทั้ง 3 ตําบลบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอกปรากฏผลดังนี้ ไขมัน ในฤดูฝนและฤดูร้อนตําบลหัวเขามีปริมาณไขมัน (0.030% และ 0.018%) มากกว่าตําบลเกาะยอ (0.025% และ 0.016%)และตําบลสทิงหม้อ (0.028% และ 0.016%) โปรตีน ในฤดูฝนและฤดูร้อน ตําบลเกาะยอมีปริมาณโปรตีน (2.64% และ 0.45%) มากกว่า ตําบลสทิงหม้อ (1.67% และ 0.43%) และตําบลหัวเขา (1.29% และ 0.43%) เส้นใย ในฤดูฝน ตําบลสทิงหม้อมีปริมาณเส้นใย (7.17% มากกว่า ตําบลหัวเขา (4.52%) และตําบลเกาะยอ (4.21%) ส่วนในฤดูร้อน ตําบลเกาะยอ มีปริมาณเส้นใย (4.33%) มากกว่าตําบลสทิงหม้อ (4.22%)และตําบลหัวเขา (3.48%) ความชื้น ในฤดูฝน ตําบลหัวเขามีปริมาณความชื้น (85.65%) มากกว่าตําบล เกาะยอ (78,09%) และตําบลสทิงหม้อ 77.1%) ส่วนในฤดูร้อน ตําบลสทิงหม้อมีปริมาณ ความชื้น (88.65%) มากกว่าตําบลเกาะยอ (88.22%) และตําบลหัวเขา (80.81%) เถ้า ในฤดูฝนตําบลสทิงหม้อมีปริมาณเถ้า (87.75%) มากกว่าตําบลเกาะยอ (83.44%) และตําบลหัวเขา (76.75%)ส่วนในฤดูร้อน ตําบลเกาะยอมีปริมาณเถ้า (84.11%) มากกว่า ตําบลหัวเขา (31.24%) และตําบลสทิงหม้อ (81.11%) วิตามินเอ ในฤดูฝนตําบลสทิงหม้อมีปริมาณวิตามินเอ (340.86 ไอยู) มากกว่า ตําบลเกาะยอ (99.78 ไอยู) และตําบลหัวเขา (20.07 ไอยู) ส่วนในฤดูร้อน ตําบลเกาะยอมี ปริมาณวิตามินเอ (87.78 ไอยู) มากกว่า ตําบลสทิงหม้อ (72.33 ไอยู) และตําบลหัวเขา (60.86 ไอยู) ไอโอดีน ในฤดูฝนตําบลสทิงหม้อมีปริมาณไอโอดีน (154 มิลลิกรัม) มากกว่า ตําบลเกาะยอ (75.4 มิลลิกรัม) และตําบลหัวเขา (20.5 มิลลิกรัม) ส่วนในฤดูร้อน ตําบลหัว เขามีปริมาณไอโอดีน (194 มิลลิกรัม) มากกว่าตําบลสทิงหม้อ (81.7 มิลลิกรัม) และตําบล เกาะยอ (17.1 มิลลิกรัม) แป้ง ในฤดูฝนตําบลหัวเขามีปริมาณแป้ง (30.69%) มากกว่าตําบลเกาะยอ (17.05%) และตําบลสทิงหม้อ (14.26%) ส่วนในฤดูร้อน ตําบลสทิงหม้อ มีปริมาณแป้ง (22.85%) มากกว่าตําบลเกาะยอ (22.1%) และตําบลหัวเขา (17.47%) ผลการเปรียบเทียบคุณค่าอาหารของสาหร่ายผมนางแต่ละฤดูกาลทั้ง 3 ตําบลทาง สถิติ (Mann-Whitney U-test) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1

บทที่2

บทที่3

บทที่4

บทที่5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก