ภูมิปัญญาการนำทางสู่เนื้อธรรม ของ ท่านพุทธทาส

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อำนวย ยัสโยธา

สำนักพิมพ์: 

สำนักกองทุนสนับสนุนงานวิจัย

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.294.34 อ215ภ

รายละเอียด: 

งานวิจัยเรื่อง “ภูมิปัญญาการนําทางสู่เนื้อธรรมของท่านพุทธทาส” เป็นการวิจัยเชิงปรัชญาศาสนา (Philosophical religion research) มีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาคําตอบว่า ท่านใช้กลวิธีชักจูงผู้คนให้หันมาสนใจธรรมะ และรู้จักหยิบฉวยเอาวิถีแห่งธรรม มาใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรจนกลายเป็นที่กล่าวขวัญและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในและต่างประเทศตลอดศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา ในการค้นหาคําตอบ ได้ประยุกต์แนวคิดทฤษฎีที่นิยมใช้ในวงการตรรกวิทยา เพื่อที่จะใช้ตรวจสอบความจริงของหลักฐานข้อมูล, วิเคราะห์ความหมายของหลักฐานข้อมูล และวิเคราะห์ระบบคิดของท่านพุทธทาส ซึ่งประกอบด้วย 3 ทฤษฎี คือ (1) ทฤษฎีเชื่อมนัย (Coherence Theory) (2) ทฤษฎีสมนัย (Correspondence Theory) และ (3) ทฤษฎีปฏิบัตินัย (Pragmatic Theory) ส่วนตัวแทนข้อมูลที่ใช้เป็นกรอบคิดในการศึกษาวิเคราะห์ประกอบด้วย (1) แนวทางปฏิบัติธรรมในสวนโมกข์ (2) แถลงการณ์สวนโมกข์ 50 ปี และกฎบัตรพุทธ บริษัท (3) มรดกที่ขอฝากไว้ (4) ภาษาคน - ภาษาธรรม (5) ปณิธาน 3 ประการของ พุทธทาสภิกขุ และ (6) ส่วนปลีกย่อยอื่น ๆ เท่าที่จําเป็น ผู้วิจัยศึกษาจากข้อมูลเอกสาร ข้อมูลภาคสนาม และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังผลประโยชน์ที่จะได้รับ คือ จะช่วยให้เข้าใจ “วิธีวิทยา” ที่ท่านนํามาใช้ แล้วนํามาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิต ประจําวัน และเคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์นี้ไปใช้กับศาสตร์แขนงอื่นตามความเหมาะสม หลังจากที่ศึกษาตามกระบวนการข้างต้นแล้ว ได้ค้นพบการใช้ภูมิปัญญาอย่าง เป็นลําดับขั้นตอน คือ ในขั้นแรกท่านได้ สร้างความชอบธรรมให้แก่ระบบคิด โดยประกาศนามอุทิศตนเป็น “พุทธทาส” แล้วนําหลักคําสอนที่ท่านถือว่าเป็น “หัวใจ” ของพุทธศาสนาเรื่อง “ความไม่ยึดมั่นถือมั่น” มาใช้เป็นเสมือนใบเบิกทาง โดยไม่ยึดมั่นถือ มั่นแม้แต่พระไตรปิฎก และยังนําหลักคําสอนเรื่องกาลามสูตร, โคตมีสูตร และมหาปเทสสี่ มาใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเนื้อหาในพระไตรปิฎก เพื่อที่จะคัดทิ้งส่วนที่เชื่อว่ามิใช่ พระพุทธวจนะ และนําส่วนที่เชื่อว่าเป็นพระพุทธวจนะมาใช้ก้าวตามรอยพระอรหันต์ และยังทําให้การศึกษาพุทธศาสนากลายเป็นวิทยาศาสตร์ นําภาคทฤษฎีลงสู่การปฏิบัติ หรือ อีกนัยหนึ่ง คือ การรวมกันถธุระ (ปริยัติ) และวิปัสสนาธุระ (ปฏิบัติ) เข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากการตั้งห้องทดลองทางจิตขึ้นที่สวนโมกข์ แล้วลงมือสืบค้นพระสูตร นํามาใช้เขียน หนังสือชื่อ “ตามรอยพระอรหันต์” เพื่อใช้เป็นคู่มือฝึกฝนอย่างเข้มข้นจริงจัง และประเมิน ผลการฝึกฝนนั้นเป็นรายวัน หลังจากที่เห็นผลเป็นประการใดแล้ว จึงนํามาอบรมสั่งสอน ให้ผู้อื่นรู้ตามเห็นตามภูมิปัญญาก้าวนําทางที่นํามาใช้มีหลายรูปแบบ ล้วนแต่ตั้งอยู่บนหลักแห่งความ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งพอจะประมวลสรุปได้ดังนี้ (1) เน้นความแปลกใหม่ ทันสมัย และไม่ซ้ํา แบบใคร (2) นําปุราณธรรมในอัสดงคตภาษามาตีความประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกาลสมัย (3) มุ่งความสําเร็จประโยชน์ในกาลชาติปัจจุบัน ไม่ต้องรอจนถึงวันตายในชาติหน้า (4) สร้าง ทฤษฎีสองภาษาขึ้นใช้แก้ปัญหากรณีที่พระวจนะขัดแย้งกันเอง และทําตนเป็นผู้ไม่เคารพ พจนานุกรม สร้าง “พจนานุกรมนอกราชบัณฑิต ฯ” โดยการสร้างศัพท์แปลกใหม่ รวมทั้งเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับพื้นเพของบุคคล (5) ผลิตสื่อและอุปกรณ์การสอน มากมายหลายรูปแบบที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ โรงมหรสพทางวิญญาณ (6) สอน ธรรมะด้วยหลากหลายวิธี ทั้งเขียนหนังสือ (ร้อยแก้วและร้อยกรอง), เทปธรรมะ และภาพปริศนาธรรม (7) เผยแผ่ธรรมะทั้งในสถานที่และธรรมะสัญจร (8) ทําตนเป็นคน “หลุดกรอบ” ประยุกต์คําสอนต่างลัทธินิกายมาใช้ โดยไม่คํานึงถึงความเป็นเถรวาท มหายาน หรือ ลัทธินิกายใดแต่มุ่งความสําเร็จประโยชน์และส่งเสริมความเข้าใจระหว่างศาสนาเป็นสําคัญ (9) ก่อตั้ง “คณะธรรมทาน” เป็นองค์กรหรือคณะทํางาน และออกหนังสือพิมพ์ “พุทธสาสนา” เพื่อใช้เป็นกระบอกเสียง (10) ฝากมรดกธรรม และสร้างเครือข่ายสหายธรรมไว้สืบทอด พุทธศาสนา งานวิจัยนี้ แม้มุ่งที่จะศึกษาภูมิปัญญาการนําทางสู่เนื้อธรรม แต่เนื้อหาสาระยัง ประกอบด้วยบทเรียนแห่งชีวิตและการต่อสู้, วิธีเอาชนะอุปสรรค และความพยายามที่จะ พิสูจน์อุดมการณ์ที่คิดฝัน ภายใต้ปรัชญาชีวิตที่ว่า “เป็นอยู่อย่างต่ํามุ่งกระทําอย่างสูง” ซึ่ง สามารถนํามาเป็นแบบอย่างที่ดีสําหรับบทเรียนแห่งชีวิตสืบไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บทที่ 6

บรรณานุกรม