การขยายพันธุ์จันทน์ผา (Draceena lourieri) โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

มานี เตื้อสกุล

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2541

เลขหมู่: 

ว.581.0724 ม25ก

รายละเอียด: 

การขยายพันธุ์จันทน์ผาโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้นําหน่ออ่อนของจันทน์ผาสูง ประมาณ 10 เซนติเมตรมาฟอกฆ่าเชื้อด้วยคลอรอกซ์ 10 เปอร์เซ็นต์ มีทวีน 20 จํานวน 1-2 หยด เป็นเวลา 15 นาที ล้างด้วยน้ำกลั่นที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง ตัดแต่งเนื้อเยื่อบริเวณปลายยอดและตาข้างของต้นให้มีขนาด 0.5 เซนติเมตร วางเลี้ยงในอาหารเอ็มเอสที่มีไอเอเอ เข้มข้น 0.00, 0.10 และ 0.50 ร่วมกับ บีเอ เข้มข้น 1.00 2.00 3.00 และ 4.00 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลําดับ เพื่อชักนําให้เกิดต้นรวมเป็นเวลา 12 สัปดาห์ นําต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูงประมาณ 2 เซนติเมตร วางเลี้ยงในอาหารเอ็มเอสมีเอ็นเอเอ เข้มข้น 0.10 , 0.50 และ 1.00 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เพื่อชักนําให้เกิดรากแล้วย้ายต้นที่ได้ออกจากขวดเพาะเลี้ยง มาเลี้ยงในวัสดุปลูก ประกอบด้วย ดิน ทราย : ขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1:1 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า เนื้อเยื่อจันทน์ผาที่เลี้ยงในอาหารเอ็มเอสมีไอเอเอ 0.50 ร่วมกับมีเอ 4.00 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนําให้เกิดต้นรวมได้ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 15.60 ต้น/ชิ้นส่วน รองลงมาคือ อาหารที่มีบีเอ 3.00 มิลลิกรัม/ลิตร มีค่าเฉลี่ย 7.60 ต้นชิ้นส่วน เมื่อนําต้นมาเลี้ยงในอาหารกระตุ้นราก ปรากฏว่า อาหารที่มี เอ็นเอเอ 0.10 มิลลิกรัม/ลิตร ได้ค่าเฉลี่ยจํานวนรากสูงสุด คือ 7.84 รากต้น ความยาวราก 13.11 เซนติเมตร จํานวนรากแตกต่างจากตํารับการทดลองอื่น อย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (a= 0.01) ส่วนความยาวรากไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ต้นที่มีรากสมบูรณ์แล้วนําออกจากขวดเพาะเลี้ยงมาเลี้ยงในวัสดุปลูก สภาพแวดล้อมภายนอกเวลา 8 สัปดาห์ สามารถมีชีวิตรอดได้ 96 เปอร์เซ็นต์ ในการขยายพันธุ์จันทน์ผาโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้ สามารถเก็บต้นพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เป็นจํานวนมาก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก