การวิจัยและพัฒนาชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นระดับอุดมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบริเวณหาดชลาทัศน์จังหวัดสงขลา กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เฉลิมชนม์ วรรณทอง, บรรจง ทองสร้าง, ศักดิ์ชาย คงนคร, พะเยาว์ ยงศิริวิทย์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2547

เลขหมู่: 

ว.507 ก27

รายละเอียด: 

การวิจัยและพัฒนาชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นระดับอุดมศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพบริเวณหาดชลาทัศน์จังหวัดสงขลา กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง มีจุดประสงค์เพื่อ สร้างชุดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เกี่ยวกับ : การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบริเวณหาด ชลาทัศน์จังหวัดสงขลา กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง โดยบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา และอุตุนิยมวิทยา และเพื่อพัฒนานักวิจัยและฝ่ายต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันสรรสร้างชุมชน ด้วยกระบวนการวิจัยแบบมี ส่วนร่วม มหาวิทยาลัยกับชุมชน ในการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูล จากผลการศึกษาพบการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อันเนื่องมาจากการลดลงของมวลทราย บริเวณหาดชลาทัศน์ ตั้งแต่บริเวณชุมชนเก้าเส้ง ถึงแหลมสมิหลา ตําแหน่งรูปปั้นนางเงือก มี แนวโน้มลดลง จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศพิกัดจังหวัดสงขลา ปี พ.ศ.2509 พ.ศ.2517 พ.ศ.2532 พ.ศ.2538 พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2545 โดยโปรแกรม Arcview พบว่าหาดชลาทัศน์สูญเสียพื้นที่ไปแล้ว 62,678.16 ตารางเมตร หรือ 39.17 ไร่ และข้อมูลจากชุมชนพบว่าการเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรงเริ่มต้นตั้งแต่ ปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน และผลการเก็บข้อมูลพิกัดภูมิศาสตร์อ้างอิงดาวเทียม โดยเครื่องวัดพิกัดภูมิศาสตร์ (GPS) บริเวณหาดชลาทัศน์ เดือนธันวาคม พ.ศ.2546 - มกราคม พ.ศ.2547 เทียบกับแผนที่ L7017 ระวาง 5123III กรมแผนที่ทหาร การเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบริเวณหาดชลาทัศน์จังหวัดสงขลา 1. อิทธิพลจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะเดียวกันนี้ตลอดแนวของชายฝั่งอ่าวไทย ยกตัวอย่างเช่น หาดปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช หาดเจ้าสําราญ จังหวัดเพชรบุรี หาดแสงจันทร์ จังหวัดระยอง เป็นต้น 2. อิทธิพลจากมนุษย์ เนื่องมาจากการขาดความรู้ในการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล เนื่องจากโครงการวิจัยชุดนี้เป็นลักษณะของงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ทําให้เกิดผลสัมฤทธิ์จากโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น คือ 1. ได้ชุดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น ระดับอุดมศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบริเวณหาดชลาทัศน์จังหวัดสงขลา กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง ที่บูรณาการเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา สมุทรศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยา ไว้ด้วยกัน 2. ได้คู่มือความรู้ชุมชน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบริเวณหาดชลาทัศน์จังหวัดสงขลา กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง ซึ่งเป็นบทเรียนเบื้องต้น ที่ให้ชาวบ้านในชุมชนและนักท่องเที่ยว รู้จักแง่มุมอีกด้านหนึ่งของชุมชนเก้าเส้ง 3. ได้ความเครือข่ายชุมชน ด้านการสังเกตและเฝ้าระวังพื้นที่บริเวณหาดชลาทัศน์ ซึ่งมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีความรุนแรงต่อเนื่อง 4. ได้เครือข่ายความร่วมมือด้านฐานข้อมูล กับหน่วยงานของรัฐ คือ 4.1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4.2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.3 ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดสงขลา 4.4 เทศบาลนครสงขลา 4.5 กรมแผนที่ทหาร 5. พัฒนานักวิจัย ด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันสรรสร้างชุมชน ครูอาจารย์ นักศึกษาและชาวบ้านในชุมชนได้รับทราบถึงข้อมูลความจริงที่เป็นองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แบบมีกระบวนการ ไม่ได้เกิดจากความเชื่อเพียงอย่างเดียว 6. ได้เครือข่ายเผยแพร่ผลงานการศึกษาวิจัย ผ่านสื่อมวลชน ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นจุดอ่อนข้อหนึ่งของนักวิจัย นั่นคือขาดการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน 7. ได้เครือข่ายวิจัยวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ซึ่งเป็นความเข้มแข็งทางวิชาการของชาวราชภัฏ สมดังปณิธาน “สถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก