รายละเอียด: |
การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิ์ ภาพการผลิตสุกรพื้นเมือง ในการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมของเกษตรกร โดยมีพื้นที่เป้าหมาย คือ อําเภอ สะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา การดําเนินโครงการแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือ การวิจัย และการถ่าย ทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน จากการศึกษาระบบเกษตรนิเวศน์ของพื้นที่เป้าหมาย คือ ตําบลคูหา และ ตําบล เขาแดง อําเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พบว่าสภาพระบบเกษตรนิเวศน์ ของตําบลทั้งสอง ยังเหมาะกับการเกษตร ด้านการทําสวนผลไม้ ยางพาราและการเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีป่าไม้ และป่าต้นน้ำตลอดจนสภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ จึงถือเป็นจุดแข็งของตําบล ประชาชนส่วนใหญ่มีวิธีการดํารงชีวิต อย่างเรียบง่าย และคงความเป็นชนบทอยู่ อาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่คือการทําสวนยางพารา และสวนผลไม้เป็นหลัก อย่างไรก็ตามการเลี้ยงสัตว์จัดเป็นอาชีพรองของประชากรในหมู่บ้าน แต่การเลี้ยงสุกรพื้นเมืองมีจํานวนผู้เลี้ยงในปัจจุบันลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยเหตุผลหลักของกลุ่มที่เคยเลี้ยง คือ สุกรพื้นเมืองโตช้า ส่วนผู้ที่ยังดําเนินการเลี้ยงสุกรพื้นเมืองอยู่ จะเลี้ยงสุกรพ่อแม่พันธุ์รวมทั้งขุนลูกสุกรที่ผลิตได้เป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เพื่อผลิตลูกสุกรขายให้กับผู้อื่นเพื่อขุนขายต่อไป
จากการศึกษาวิจัยถึงรูปแบบการเลี้ยงที่เหมาะสม 3 รูปแบบ ประกอบด้วย การเลี้ยงในโรง เรือนพื้นซีเมนต์ การเลี้ยงแบบกึ่งปล่อยอิสระบนพื้นดิน และ การเลี้ยงในโรงเรือนกึ่งพื้นซีเมนต์กับพื้น ดิน พบว่า สมรรถภาพการผลิตของสุกรพื้นเมืองที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงต่างกัน โดยให้อาหารคุณภาพดีแบบจํากัด มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของสุกรพื้นเมืองแตกต่างกันไม่เด่นชัดมากนัก แต่การนํารูปแบบการเลี้ยงแบบกึ่งปล่อยอิสระบนพื้นดิน ซึ่งเป็นสภาพที่ใกล้เคียงกับความเป็นอยู่ของสุกรพื้นเมือง เข้ามาใช้ในการจัดการเลี้ยงดูสุกรพื้นเมือง นอกจากจะมีต้นทุนต่ำในการกั้นพื้นที่แล้ว ยังเป็นการให้สัตว์สามารถแสดงออกของพฤติกรรมได้อย่างเต็มที่ ทําให้สัตว์ไม่เครียด
สําหรับผลการเสริมบอระเพ็ดบดผงในระดับ 0 และ 0.3 เปอร์เซ็นต์ ในระบบการเลี้ยงแบบกึ่ง ปล่อยอิสระบนพื้นดิน และการเลี้ยงในโรงเรือนพื้นซีเมนต์ ต่อสมรรถภาพการผลิตสุกรพื้นเมือง พบว่า อัตราการเจริญเติบโตของสุกรพื้นเมืองที่เลี้ยงแบบปล่อยกึ่งอิสระบนพื้นดิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการเลี้ยงในโรงเรือนพื้นซีเมนต์ ขณะที่ การเสริมและไม่เสริมบอระเพ็ด ในสภาพการเลี้ยงแบบกึ่งปล่อยอิสระบน พื้นดิน และโรงเรือนพื้นซีเมนต์ ไม่ได้ทําให้สมรรถภาพการผลิตของสุกรพื้นเมืองในด้านอื่น ๆ มีค่า เฉลี่ยแตกต่างกัน ส่วนด้านเปอร์เซ็นต์ซากของสุกร มีแนวโน้มว่าสุกรที่ได้รับบอระเพ็ดในสูตรอาหาร ทั้งสองรูปแบบการเลี้ยงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับบอระเพ็ด
จากผลการดําเนินการอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและผู้สนใจ ผลการประเมิน ผลการฝึกอบรม ปรากฏว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพอใจมาก ต่อระยะเวลาในการฝึกอบรม ความรู้ที่ ได้รับจากการฝึกอบรม เรื่องที่ได้รับการอบรมตรงกับความต้องการ สถานที่การฝึกอบรม และ การเยี่ยมชมสถานที่วิจัย (3.18, 3.59, 3.8, 3.45 และ 3.59 คะแนน จาก คะแนนเต็ม 4 คะแนน ตามลำดับ) และจากการติดตามผล หลังจากการฝึกอบรม พบว่า มีผู้สนใจเริ่มกลับมาเลี้ยงสุกรพื้นเมือง รวมทั้งผู้ที่เลี้ยงอยู่แล้วก็ยังคงดําเนินกิจกรรมอยู่ต่อไป
|