ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนในเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ทัศนีย์ ประธาน

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

371.102 ท118ป

รายละเอียด: 

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนในเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ ทัศนีย์ ประธาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสรุปกรอบแนวคิดเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้สอน เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนในเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนในเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ และเพื่อสังเคราะห์บทบาทของครู ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้ดําเนินการวิจัยทั้งภาพรวมระดับประเทศ เกี่ยวกับการวิเคราะห์เอกสารเพื่อกําหนดกรอบแนวคิดเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน การวิจัยในระดับเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา จํานวน 1,172 คน และครู อาจารย์ผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา จํานวน 779 คน การระดมความคิดจากนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และสื่อมวลชน เพื่อเปิดเวทีประชาคม มีผู้รวมจํานวนทั้งสิ้น 77 คน และสรุปบทบาทของครู นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน ด้วยการสังเคราะห์ผลงานวิจัยเชิงเอกสาร การสํารวจ และเวทีประชาคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม 3 ฉบับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ - 1. ครูและนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนตามสภาพจริง และตามความต้องการหรือความคาดหวังด้านเจตคติ การเป็นแบบอย่างที่ดี และการให้รางวัลและการลงโทษในระดับมาก ครูและนักเรียนอาชีวศึกษา และอาจารย์และนักศึกษามีความคิดเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนตามสภาพจริงและตามความต้องการหรือความคาดหวังด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนตามสภาพจริงกับความต้องการหรือความคาดหวัง พบว่าส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.01 ในทุกระดับการศึกษา 2. ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนตามสภาพจริง และตามความต้องการหรือความคาดหวัง ส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยครูมีความคิดเห็นส่วนใหญ่สูงกว่าความคิดเห็นของนักเรียนในทุกระดับการศึกษา 3. แนวทางการพัฒนาปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอย่างเร่งด่วนในทุกระดับการศึกษา คือการสร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย แบบปล่อยปละละเลย การเป็นแบบอย่างที่ดีในประเด็นบุคลิกภาพ การชักจูงการกระทําและการสร้างจิตสํานึก การลงโทษและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อเจตคติต่อครูและเจตคติต่อนักเรียน พบว่าปัจจัยทั้ง 7 ปัจจัยมี ความสามารถในการพยากรณ์เจตคติของนักเรียนต่อครูทั้งตามสภาพจริงและตามความต้องการหรือความคาดหวังในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานร้อยละ 78 และ 78 ตามลําดับระดับอาชีวศึกษาร้อยละ 61 และ 75 ตามลําดับและระดับอุดมศึกษาร้อยละ 57 และ 73 ตามลําดับ ส่วนความสามารถในการพยากรณ์เจตคติของครูต่อนักเรียนพบว่าปัจจัยทั้ง 7 ปัจจัยมีความสามารถในการพยากรณ์เจตคติของครูต่อนักเรียนทั้งตามสภาพจริงและตามความต้องการหรือความคาดหวังในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานร้อยละ 57 และ 57 ตามลําดับระดับอาชีวศึกษาร้อยละ 58 และ 61 ตามลําดับและระดับอุดมศึกษาร้อยละ 62 และ 62 ตามลําดับ 4. ครูและนักเรียนเห็นสอดคล้องกันในทุกระดับว่า นักเรียนควรมีบทบาทในการให้ความร่วมมือในการสร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย พร้อมที่จะปฏิบัติตามคําแนะนําของครู และยอมรับโทษเมื่อทําผิดและได้รับการอธิบายเหตุผลอย่างชัดเจน ส่วนบทบาทของครูควรที่จะสร้างบรรยากาศในห้องเรียนแบบประชาธิปไตย เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนทั้งด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรมที่แสดงออก ความรับผิดชอบในการสอนและการลงโทษด้วยวิธีที่เหมาะสมกับความผิดพร้อมทั้งอธิบายชี้แจงเหตุผลของความผิดโดยไม่มีอคติและแสดงอารมณ์ที่ฉุนเฉียวหรือโกรธเคือง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บทที่ 6

บทที่ 7

บรรณานุกรม

ภาคผนวก