การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาชาวบ้านภาคใต้ที่ปรากฏในบทเกี่ยวจอหนังตะลุง ผลการวิจัยพบว่าภูมิปัญญาที่ปรากฏ คือ 1. ภูมิปัญญาด้านการใช้ภาษา ได้แก่ การใช้คําซึ่งมีทั้งการเล่นคําผวน การเล่นคําสัมผัส การเลือกสรรคํา และการใช้สํานวนโวหาร ซึ่งมีทั้งการใช้อุปมา การใช้อุปลักษณ์ การใช้อติพจน์ และการใช้สัญลักษณ์ 2. ภูมิปัญญาด้าน การสอน ซึ่งจําแนกได้เป็น 2 ด้าน คือ กลวิธีสอน ซึ่งมีทั้งการสอนโดยตรง การสอนโดยอ้างของเก่า การสอนโดยนําเอาวิสัยโลกมาอ้าง การสอนโดยอ้างสัจธรรม และเนื้อหาที่สอน ซึ่งมี ทั้งปรัชญาชีวิต วิสัยโลก คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคุณธรรมและจริยธรรมในพระพุทธศาสนา 3. ภูมิปัญญาด้านอื่น ๆ ได้แก่ ภูมิปัญญาด้านความเชื่อ ซึ่งมีทั้งความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ และความเชื่อในหลักธรรมคําสอนในพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาด้านการสร้างอารมณ์ขัน ซึ่งใช้กลวิธีใช้คํา 2 แง่ 2 มุม และภูมิปัญญาด้านการเชื่อมความ ซึ่งมีทั้งการยกวิสัยโลกมาอ้าง แล้วสรุปความสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นเช่นนั้น การยกวิสัยโลกมาอ้างแล้วสรุป ความสิ่งที่เกิดขึ้นว่าไม่เป็นเช่นนั้น และการเปรียบเทียบของที่มีลักษณะร่วมกันแล้วสรุปว่าแตกต่างกัน |