อิทธิพลของโคลชิซินต่อการปรับปรุงพันธุ์คาร์เนชันที่เลี้ยงในหลอดทดลอง

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

มานี เตื้อสกุล

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

631.523 ม25อ

รายละเอียด: 

อิทธิพลของโคลชิซินต่อการปรับปรุงพันธุ์คาร์เนชันที่เลี้ยงในหลอดทดลอง มานี เสื้อสกุล บทคัดย่อ การศึกษาอิทธิพลของโคลชิซินต่อการปรับปรุงพันธุ์คาร์เนชันที่เลี้ยงในหลอดทดลอง โดยนําตาข้างของคาร์เนชันที่ติดมากับก้านดอก ตั้งแต่ตาที่ 1-4 มาเลี้ยงในอาหารเอ็มเอส (Murashige and Sko0g. 1962) มี บีเอ 1.0 มิลลิกรัมลิตร เพื่อเพิ่มจํานวนต้น แล้วนําตายอดและตาข้างที่ได้จากหลอดทดลองมาเลี้ยงในอาหารเหลว เอ็มเอส มีบีเอ 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับสารโคลชิซินที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน ได้แก่ 0.0 0.1 0.5 และ 1.0 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 24 48 และ 72 ชั่วโมง ย้ายเนื้อเยื่อที่ผ่านการให้สารตามความเข้มข้นและเวลาที่กําหนด มาเลี้ยงในอาหารแข็งสูตรเอ็มเอส มีบีเอ 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร เพื่อเพิ่มจํานวนต้น นําต้นที่ได้มาเลี้ยงในหลอดทดลองที่มีอาหารสูตรเอ็มเอส ไอเอเอ 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร ปิดปากหลอดด้วยสําลี เพื่อชักนําให้เกิดราก นําต้นที่ได้ออกจากหลอดทดลองมาเลี้ยงในวัสดุปลูก สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นเวลา 4 เดือน ผลการทดลองปรากฏผลดังนี้ อิทธิพลของโคลชิซิน สามารถชักนําให้ตายอดและตาข้างของคาร์เนชัน ที่เลี้ยงในหลอดทดลอง เมื่อได้รับสารโคลชิซิน เข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลานาน 24 และ 48 ชั่วโมง พัฒนาเป็นคาร์เนชันพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากพันธุ์เดิม ดังนี้คือ มีโครโมโซมเพิ่มขึ้นจาก 2n เป็น 4n จํานวนโครโมโซมพันธุ์เดิมมี 30 เส้น พันธุ์ใหม่มี 60 เส้น ขนาดของปากใบและขนาด ของเซลล์บริเวณเนื้อเยื่อบุผิวด้านหลังใบและท้องใบมีขนาดโตกว่าพันธุ์เดิม แต่มีจํานวนปากน้อยกว่าความสูงของต้น คาร์เนชันพันธุ์ใหม่มีความสูงของต้นมากกว่าส่วนความกว้าง ความยาว และ น้ำหนักใบของคาร์เนชันทั้งสองพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกัน การให้สารโคลชิซิน เข้มข้น 0.5 และ 1.0 เปอร์เซ็นต์ เวลานาน 24 48 และ 72 ชั่วโมง จะยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ทําให้เนื้อเยื่อตาย ไม่สามารถพัฒนาเป็นต้นได้ การให้สารโคลชชินเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ เวลานาน 72 ชั่วโมง ทําให้เนื้อเยื่อหยุดการเจริญเติบโตเช่นเดียวกัน ในการทดลองครั้งนี้สามารถเก็บพันธุ์พืชที่ได้ไว้ในหลอดทดลอง เพื่อทําการขยายและทดลองต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

บทคัดย่อ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก