รายละเอียด: |
ผลของการใช้ใบกล้วยปั่นในอาหารแม่ไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตไข่และคุณภาพไข่
การทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้ใบกล้วยป่นในอาหารแม่ไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตไข่และคุณภาพไข่โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ใช้ไก่ไข่ระยะไข่ พันธุ์อีซ่าบราวน์ จํานวน 200 ตัว แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 5 ซ้ำๆ ละ 8 ตัว แต่ละกลุ่มทดลองได้รับ อาหารดังนี้ กลุ่มที่1 สูตรอาหารที่ไม่ใช้ใบพืช กลุ่มที่ 2 สูตรอาหารที่ใช้ใบกล้วยป่น 4 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มที่ 3 สูตรอาหารที่ใช้ใบมะขามปุ่น 4 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มที่ 4 สูตรอาหารที่ใช้ใบมะขามเทศนั้น 4 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มที่ 5 สูตรอาหารที่ใช้ใบมันสําปะหลังป่น 4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไก่ทดลองเลี้ยงในกรงตับขังเดี่ยวภายในโรงเรือนระบบปิด ปรากฏว่าการใช้ใบกล้วยปุ่นที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารไก่ไข่ ระยะไข่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพของตัวไก่ ซึ่งพิจารณาจากค่าฮีมาโตคริตที่ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ และการใช้ใบพืชชนิดอื่นที่ระดับเดียวกัน แต่ไก่ไข่ที่กินอาหารที่ใช้ใบกล้วยปุ่น ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารให้ผลผลิตไข่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับใบมะขามปุ่นในสูตรอาหารอย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ขณะที่น้ำหนักไข่เฉลี่ยต่อฟองของไก่ไข่ที่ใช้ใบกล้วยปุ่น ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารต่ำกว่ากลุ่มที่ใช้ใบมะขามปุ่นในสูตรอาหารอย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) และปริมาณอาหารที่กินเฉลี่ยต่อตัวต่อวันของไก่ที่ได้รับใบกล้วยปั่นในสูตรอาหารมากกว่าการไม่ใช้ใบพืชอย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) อย่างไรก็ตามไม่ได้ทําให้สมรรถภาพการผลิตน้อยลง โดยที่มวลไข่ค่าฮอกยูนิต ความสูงไข่ขาวและความหนาเปลือกไข่ เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว ไข่แดงและเปลือกไข่ไม่มีความแตกต่าง ทางสถิติ (P>0.05) แต่การใช้ใบกล้วยปุ่นในสูตรอาหารมีผลทําให้สีไข่แดงเข้มกว่าการไม่ใช้ใบพืช ใบมะขามและใบมันสําปะหลังป่นในสูตรอาหารอย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01)
2) เปรียบเทียบการใช้น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกกล้วยนางพญากับปุ๋ยเคมีในการเพาะไรแดง
การเพาะขยายพันธุ์ไรแดง โดยใช้น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกกล้วยนางพญา เปรียบเทียบกับสูตรที่ใช้ปุ๋ยเคมี แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกกล้วยนางพญาต่อการมีชีวิตของไรแดง โดยใช้น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกกล้วยนางพญาต่อน้ำในอัตราส่วน 7 ระดับ คือ 1:10, 1:50, 1:100, 1:500, 1:1,000, 1:5,000 และ 1:10,000 ทดลองในบีกเกอร์ ขนาด 50 มิลลิลิตร ใส่ไรแดงบีกเกอร์ละ 10 ตัว ดูการมีชีวิตของไรแดงใน น้ำหมักระยะเวลา 4 วัน ปรากฏว่าในอัตราส่วนของน้ำหมักชีวภาพทั้ง 7 ระดับ มีจํานวนไรแดงที่มี ชีวิตเฉลี่ยในวันที่ 4 เป็น 0, 0, 2, 1, 1, 0 และ 0 ตัว ตามลําดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราส่วนที่เหมาะสม ของน้ําหมักชีวภาพจากเปลือกกล้วยนางพญาต่อการมีชีวิตของไรแดง คือ อัตราส่วน 1:500 ซึ่งมี จํานวนไรแดงที่มีชีวิตอยู่มากที่สุด (P<0.01) จึงนําอัตราส่วนนี้ไปใช้ในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งศึกษาการ เจริญเติบโตขยายพันธุ์ของไรแดงในน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกกล้วยนางพญา เปรียบเทียบกับสูตรที่
ใช้ปุ๋ยเคมีและสูตรควบคุมรวม 5 สูตร คือ สูตรที่ 1 (สูตรควบคุม) เป็นสูตรที่เหมาะสมในการเพาะ ขยายพันธุ์ไรแดงจากสถานีประมงน้ำจืดปทุมธานี ซึ่งประกอบด้วย อามิ-อามิ ปุ๋ยนา ปุ๋ยยูเรีย ปูนขาว สูตรที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ ปูนขาว สูตรที่ 3 น้ำหมักชีวภาพ คลอเรลลา ปูนขาว สูตรที่ 4 ปุ๋ยเคมีปูนขาว และสูตรที่ 5 ปุ๋ยเคมี คลอเรลลา ปูนขาว เมื่อครบ 7 วัน ของการศึกษาทดลองหรือ 4 วัน หลังจากใส่หัวเชื้อไรแดง (10 กรัมต่อน้ำ 120 ลิตร) ทําการเก็บผลผลิตไรแดงในแต่ละบ่อ พบว่า อาหารทั้ง 5 สูตรให้ผลผลิตไรแดงเฉลี่ย 22.9, 26.4, 23.6, 15.5 และ 17 กรัมตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบ สูตรอาหารทั้ง 5 สูตร ที่ใช้เพาะขยายพันธุ์ไรแดง จะเห็นได้ว่าสูตรอาหารที่ใช้น้ำหมักชีวภาพจาก เปลือกกล้วยนางพญาให้ผลผลิตไรแดงไม่แตกต่างจากสูตรควบคุม (P>0.05) แต่สูงกว่า (P<0.05) สูตรที่ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกกล้วยนางพญาสภาพเข้มข้น มีความเป็น กรดเป็นด่าง (pH) 6.6 แต่เมื่อมีการเจือจาง และเติมปูนขาวทําให้ความเป็นกรดลดลง (pH 7.8) สามารถใช้เลี้ยงไรแดงได้ ดังนั้นน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกกล้วยนางพญาสามารถใช้เพาะขยายพันธุ์ไรแดงได้ดี และยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ เนื่องจากเปลือกกล้วยเป็นวัสดุเหลือทิ้ง อีกทั้งยังสามารถลดขยะมูลฝอย ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง
3) การใช้หยวกกล้วยนางพญาเพื่อลดความเป็นกรด-ด่าง (pH) น้ำปูนซิเมนต์
ศึกษาการใช้หยวกกล้วยนางพญาเพื่อลดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำปูนซิเมนต์ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง และ 1 ชุดควบคุม แต่ละชุดมี 3 ซ้ำ ดําเนินการศึกษาในโหลแก้วเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ใส่น้ำปูนซิเมนต์ 5 ลิตร pH เริ่มต้นที่ 11.5 เป็นเวลา 4 วัน ผลการศึกษาพบว่า หยวกกล้วยนางพญามีความสามารถในการลดค่า pH ของน้ำ
ปูนซิเมนต์ได้จริง และในวันที่ 2 ของการทดลองค่า pH ของน้ำปูนซิเมนต์ลดลงสู่ระดับที่เหมาะสม ต่อการนําไปใช้ประโยชน์ทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทุกชุดการทดลองแตกต่างจากชุดควบคุม กล่าวคือค่า pH เฉลี่ยในชุดควบคุม ชุดใส่หยวกกล้วย 40, 50, 60, 70 และ 80 กรัมต่อลิตร มีค่าเท่ากับ 11.01 +0.14, 8.55 +0.58, 7.69 +0.51, 7.56 +0.08, 7.25 +0.09 และ 7.10 +0.09 ตามลําดับ เมื่อนําผลไปวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าเฉลี่ย พบว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างชุดทดลองแต่แตกต่าง จากชุดควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) สรุปได้ว่าหยวกกล้วยในปริมาณตั้งแต่ 50-70 กรัมต่อลิตร สามารถทําให้น้ำที่เป็นค่างมี pH 11.5 ลดลงสู่ภาวะปกติของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ pH 7.34-7.53 ได้ ในระยะเวลาประมาณ 2 วัน และปริมาณหยวกกล้วยที่มากขึ้นจะช่วยลดระยะเวลาใน การลด pH ได้รวดเร็วขึ้น โดยมีปริมาณแอมโมเนียที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้หยวกกล้วยลดค่า pH ของน้ำปูนซิเมนต์น้อยมาก อยู่ในช่วงที่สัตว์น้ําเจริญเติบโตได้
4) ผลของการใช้น้ำหมัก ใบตองแห้งต่อการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลากัดจีน
ผลของการใช้น้ำหมักใบหูกวางแห้ง น้ำหมักใบตองแห้งของกล้วยตานี และน้ำหมักใบตองแห้งของกล้วยนางพญาต่อการเพาะและอนุบาลปลากัดจีนเป็นเวลา 45 วัน พบว่าปลากัดจีนที่เพาะ และอนุบาลด้วยน้ำหมักใบตองแห้งของกล้วยนางพญา มีอัตราการรอดเฉลี่ยสูงที่สุด มากกว่าในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยน้ำหมักจากใบหูกวางแห้ง และน้ำสะอาด แต่ไม่แตกต่างกับที่เลี้ยงด้วยน้ำหมักจากใบตองแห้งของกล้วยตานี ปลากัดจีนที่เพาะและอนุบาลด้วยน้ำสะอาดมีความยาวเฉลี่ยสูงที่สุดแต่ไม่แตกต่างกับน้ำหมักจากใบหูกวาง และน้ำหมักจากใบตองแห้งของกล้วยตานี ส่วนปลากัดจีนที่เพาะและอนุบาลด้วยน้ำสะอาดมีน้ำหนักเฉลี่ยไม่แตกต่างกับน้ำหมักจากใบหูกวางแห้ง นอกจากนี้ยังพบว่าปลากัดจีนที่เพาะและอนุบาลด้วยน้ำหมักจากใบหูกวางมีเปอร์เซ็นต์เพศผู้สูงที่สุด แต่ไม่แตกต่างกับ น้ำสะอาด และน้ำหมักจากใบตองแห้งของกล้วยนางพญา
5) การกําจัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย โดยใช้สารละลายเถ้าจากใบกล้วยนางพญาที่ระดับ
ความเข้มข้นแตกต่างกัน
ศึกษาการกําจัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย ด้วยสารละลายน้ำเถ้าจากใบกล้วยนางพญา ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0, 5, 10 และ 15 จากนั้นนําชิ้นเนื้อปลาดุกบิ๊กอุยมาทดสอบทางประสาท สัมผัส โดยวิธี Consumer test/Acceptance test และ ศึกษาค่าสีและความสว่างของชิ้นเนื้อปลา พบว่า ปลาดุกบิ๊กอุยที่ผ่านการแช่ด้วยสารละลายน้ำเถ้าจากใบกล้วยนางพญา ที่ระดับความเข้มข้น 0 เปอร์เซ็นต์ และ 5 เปอร์เซ็นต์ มีค่าความชอบรวมที่ผู้บริโภคยอมรับได้ (P<0.05) แต่ที่ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มการยอมรับต่อ กลิ่น รส และความหนาแน่นค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับความเข้มข้นที่ระดับอื่น ๆ สําหรับการศึกษาค่าสีและความสว่างของชิ้นเนื้อ พบว่า ปลาดุกบิ๊กอุยที่ผ่านการแช่ด้วยสารละลายน้ำเถ้าจากใบกล้วยนางพญาทุกระดับความเข้มข้น ให้ผลการวัดค่าสีและความสว่างไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ดังนั้นหากต้องการกําจัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย โดยใช้สารละลายเถ้าจากใบกล้วยนางพญาแล้ว ระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดคือ ที่ระดับ 5 เปอร์เซ็นต์
|