จากการศึกษาเนื้อเยื่อพืชที่ขึ้นอยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี 40 ชนิด เป็นพืชใบเลี้ยง เดี่ยว 2 ชนิด ใบเลี้ยงคู่ 32 ชนิด โดยเน้นการศึกษาโครงสร้างภายนอกและภายในของลําต้นและ ใบ ลําต้นมีลักษณะของเนื้อเยื่อทั้งนี้ เนื้อเยื่อบุผิว (Epidermis) ของลําต้น ส่วนมากมีเพียง ชั้นเดียว แต่มี 12 ชนิด ที่มีหลายชั้นท่อลําเลียง (Vascular bundle) เป็นแบบ คอลแลทเตอรอล บันเดิล (collateral bundle) 50 ชนิด แอมพิแวสแซล บันเดิล (Amphrasal bundle) 1 ชนิด และ ไบคอลแลทเตอรอล บันเดิล (Bicollateral bundle) 10 ชนิด เนื้อเยื่อบุผิว ของใบ ประกอบด้วยเซลล์ 1 ชั้น ในพืช 35 ชนิด มีมากกว่า 1 ชั้น 5 ชนิด ปากใบ (Stomata) ที่มีเซลล์ คุม (Guard cells) ปุ่มลงไป 3 ชนิด และเซลล์คุมนูนขึ้นมา 2 ชนิด แพลิเซค มีโซฟิลล์ - (Palisade mesophyll) ที่มีชั้นเดียวมี 22 ชนิด มีหลายชั้น 14 ชนิด แยกไม่ออก 3 ชนิด และที่มี แพลิเปค มีโซฟิลล์ ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ 1 ชนิด คือสาวเชียงใหม่ ชนที่พบมี 5 แบบ คือ ขนมีเซลล์เพียงเซลล์เดียว ขนมีเซลล์หลายเซลล์อ่อนนุ่ม ขนมีเซลล์หลายเซลล์แข็งมีหนาม ขนมีเซลล์ หลายเซลล์ปลายโป่งออก และขนมีเซลล์หลายเซลล์ปลายแยกเป็นแฉก ซิครีโทร เซลล์ (Secretory : cells) พบในพืช 7 ชนิด ไอดิโอบลาสท์ (Idioblasts) แตกแขนงพบในพืช 1 ชนิด คือ บัวผัน ผลึก (Crystal) ที่พบมี 7 ชนิด และพืชที่มีต่อมสีน้ำตาลตามเนื้อเยื่อบุผิวมี 11 ชนิด
สไลด์ที่ได้จากการศึกษา 185 ภาพ จากพืชทั้งหมด 38 ชนิด มี 2 ชนิดที่ไม่มีสไลค์คือ สาวเชียงใหม่ และบานไม่รู้โรยป่า
|