ศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยง การเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษา สาหร่ายสไปรูไลนาสด เพื่อเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

มานี เตื้อสกุล, จรรยา แสงวรรณลอย

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

ว.579.8 ม25ศ

รายละเอียด: 

จากการศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยงการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษา สาหร่ายสไปรูไลนาสด เพื่อเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยงและการเก็บรักษาสาหร่ายสไปรูไลนาสดใน 5 จังหวัด ปรับปรุงเทคนิคการเพาะเลี้ยงและการเก็บเกี่ยวให้มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวจนถึงผู้บริโภค และเพื่อ ผลิตเครื่องมือที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมขนาดย่อม วิธีการทดลอง สํารวจโดยการสัมภาษณ์แหล่งเพาะเลี้ยง นําสาหร่ายจากแหล่งเพาะเลี้ยง มาวิเคราะห์ คุณสมบัติทางเคมี และทางจุลชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ นํามาออกแบบสร้างเครื่องมือ และทดลองเครื่องมือ โดยการเพาะเลี้ยงเก็บผลผลิต และสรุปผล ผลการทดลอง พบว่าการเพาะเลี้ยงส่วนใหญ่ทําในโรงเรือน ใช้ถังพลาสติกในการเพาะเลี้ยง และใช้เครื่องเป่าอากาศช่วยการหมุนเวียนน้ำ อาหารที่เพาะเลี้ยงเป็นอาหารสูตร 9 ตัว ของธิดา (ธิดา, 2546) ประกอบด้วย NaHCO,NaNO, K,HPO, or Na,HPO, K,SO, NaCI, MgSO, CaCl) FeSo, and EDTA มีค่าความเป็นกรดด่าง 8-11 เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 7-14 วัน ผลผลิตสูงสุดของการ เพาะเลี้ยงจากแหล่งสํารวจคือ 3.3 กิโลกรัม/1,000 ลิตร การเก็บเกี่ยวสาหร่ายใช้วิธีกาลักน้ำการล้าง ใช้วิธีให้น้ำไหลผ่านโดยใช้น้ำจํานวนมาก เก็บสาหร่ายสดในน้ำแข็งหรือตู้เย็น พันธุ์สาหร่ายส่วนใหญ่ เป็นพันธุ์เส้นตรง ปริมาณความขึ้นร้อยละ 80.78-94.48 โปรตีนร้อยละ 37.33-67.52 ในการวิเคราะห์ ทางเคมีไม่พบโลหะหนักแคดเมียมทุกตัวอย่าง แต่ไม่พบตะกั่วเพียง 1 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่างของ แหล่งสํารวจ แต่ปริมาณที่พบน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนด ด้านคุณภาพทางจุลชีววิทยา พบว่า สาหร่ายสดจากแหล่งผลิตทั้งหมด มีความปลอดภัยเพียงพอสําหรับการบริโภคสด เมื่อเปรียบเทียบกับ มาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยทางจุลชีววิทยา ผลผลิตสาหร่ายสดเก็บเกี่ยวจากบ่อทดลองของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้ผลผลิต 4 กิโลกรัม/1,000 ลิตร ซึ่งสูงกว่าทุกแหล่งสํารวจ และการวิเคราะห์ทางเคมีไม่พบการปนเปื้อนของโลหะหนัก คือแคดเมียมและตะกั่วในตัวอย่าง ได้ออกแบบ โรงเรือน บ่อเพาะเลี้ยง ชุดเก็บสาหร่าย และเครื่องล้างสาหร่าย พบว่า สามารถเพาะเลี้ยงได้ผลผลิตสูง รวดเร็ว และอาหารปลอดภัย

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้แต่ง