การเปรียบเทียบการใช้สารอนินทรีย์ทางการเกษตรกับการใช้สารเคมีวิเคราะห์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

มานี เตื้อสกุล

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.581.0724 ม25ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อพืช เมื่อเลี้ยงในสารอนินทรีย์ที่ใช้ทางการเกษตรกับที่เลี้ยงในสารเคมีวิเคราะห์ เมื่ออยู่ในสภาพปลอดเชื้อ และเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ที่ใช้สารอนินทรีย์ทางการเกษตรกับสารเคมีวิเคราะห์ โดยใช้ตายอดและตาข้างของมอสซี่บัสเตอร์มาเลี้ยงในอาหารที่แตกต่างกัน 5 ตํารับการทดลอง ได้แก่ สูตรอาหาร D1-D4 ประกอบสารอนินทรีย์ทางการเกษตรที่เป็นธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองมีความเข้มข้นเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ดังนี้ KNO, 950, KH,PO, 85, CaC, 220, MgSO, 185, Ca(NO3) 4H40 85, K,SO, 85, MnSO, 11.15, HABO, 3.6, ZnSO, 4.3, CuSO, 0.012 และ CuCl, 0.012 ตํารับการทดลอง D2, D3 และ D4 ประกอบด้วยสารอนินทรีย์อย่างเดียวกับ D1 มีความเข้มข้นเป็น 2 เท่า 3 เท่า และ 4 เท่า ของ D1 ตามลําดับ โดยใช้ FeSO,7H,O, EDTA, สารอินทรีย์ น้ำตาล และวันอย่างเดียวกับสูตรอาหารเอ็มเอส (1962) ตํารับการทดลอง D5 เป็นอาหารสูตร เอ็มเอส (1962) โดยใช้สารเคมีวิเคราะห์ ทุกตํารับการทดลองมีบีเอ 1 มิลลิกรัม/ลิตร ตํารับการทดลองละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ขวด เป็นเวลา 3 เดือน เปลี่ยนอาหารและตัดแต่งเนื้อเยื่อ ทุก 4 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าตํารับการทดลอง D4 ที่ใช้สารอนินทรีย์ทางการเกษตร ได้จํานวนต้นและความสูงของต้นมอสซี่บัสเตอร์ไม่แตกต่างจากการใช้สูตรอาหารเอ็มเอส (1962) ที่ใช้สารเคมีวิเคราะห์ ดังนั้นตํารับการทดลอง D4 สามารถใช้ทดแทนสารเคมีวิเคราะห์ได้ โดยที่ราคา สารอนินทรีย์ทางการเกษตรเสียค่าใช้จ่าย 0.22 บาท เมื่อเทียบกับสูตรอาหารเอ็มเอสที่ใช้สารเคมีวิเคราะห์เสียค่าใช้จ่าย 1.58 บาท ในการผลิตต้นมอสซี่บัสเตอร์จํานวน 100 ต้น เท่ากัน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้แต่ง