รายละเอียด: |
การขยายพันธุ์คาร์เนชันโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยนําตาข้างที่ติดมากับก้านดอก มาเลี้ยงในอาหารสูตร เอ็มเอส (Murashige and Skoog ,1962) มีสารควบคุมการเจริญเติบโต บีเอ (Benzyladenine) เข้มข้น 0.10 , 0.50 , 1.00 และ 1.50 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับ ไอบีเอ (3-Indolebutyric acid) เข้มข้น 0.00 0.01 , 0.10 มิลลิกรัม/ลิตร รวมทั้งหมด 12 ตํารับการทดลอง นําไปเลี้ยงในห้องเพาะเลี้ยงที่มีอุณหภูมิ 25 + 1 เซลเซียส ความเข้มของแสง 1,500 – 2,000 ลักซ์ นาน 8 ชั่วโมง/วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เพื่อชักนําให้เกิดต้นรวม นําต้นรวมที่ได้มาเลี้ยงในอาหาร สูตรเดิม มีสารควบคุมการเจริญเติบโตไอเอเอ (3-Indoleacetic acid) ไอบีเอ , เอ็นเอเอ (A - Naphthalene acetic acid) 24 - ดี (Dichlorophenoxy acetic acid) มีความเข้มข้น 0.10 0.50 และ 1.00 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เพื่อชักนําให้เกิดราก ทําการเพิ่มจํานวนต้นและกระตุ้น ให้ต้นเกิดรากใช้สูตรอาหารที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เหมาะสมที่สุดซึ่งได้จากการทดลอง และในการชักนําให้ต้นคาร์เนเธันเกิดรากใช้ภาชนะที่เพาะเลี้ยงแตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือเลี้ยงใน ขวดเพาะเลี้ยงปิดปากขวดด้วยฝาพลาสติกกับเลี้ยงในหลอดทดลองปิดปากหลอดด้วยสําลีเป็นเวลา 4 สัปดาห์ นําออกมาปลูกในวัสดุปลูกที่ผ่านการฆ่าเชื้อและไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ ในสภาพแวดล้อม ภายนอกเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ศึกษาเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอด นําต้นคาร์เนชันที่ได้จากการรอดชีวิตมา เลี้ยงในโรงเรือนที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะ คือ ในโรงเรือนที่มีตาข่ายพรางแสงชนิด 50 เปอร์เซ็นต์ จํานวน 2 ชั้น มีตาข่ายพรางแสงชนิด 50 เปอร์เซ็นต์จํานวน 1 ชั้น และเลี้ยงกลางแจ้งเป็นเวลา 140 วัน ผลปรากฏดังนี้
การชักนําให้เกิดต้นรวม ตาข้างที่เลี้ยงในสูตรอาหารเอ็มเอสที่มี บีเอร่วมกับไอบีเอ ระดับความเข้มข้นแตกต่างกันทั้ง 12 ตํารับการทดลอง มีค่าเฉลี่ยจํานวนต้นที่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (a= 0.01) ตํารับการทดลองที่มี บีเอ 1.50 มิลลิกรัม/ลิตร ไม่มี ไอบีเอ สามารถชักนําให้เกิดต้นรวมได้มากที่สุด คือ 21.38 ต้นตา รองลงมาคือ มีบีเอ 1.00 มิลลิกรัม/ลิตร ไม่มี ไอบีเอ ได้ค่าเฉลี่ย 18.80 ต้น/ตา ตรวจสอบทางสถิติพบว่าทั้ง 2 ระดับไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
การชักนําให้เกิดราก ต้นที่เลี้ยงในอาหารที่มีไอเอเอ เข้มข้น 0.10 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนําให้ต้นเกิดรากได้จํานวนราก และความยาวรากมากที่สุด คือเฉลี่ย 4.67 ราก/ต้น และ 1.65 เซนติเมตร ตามลําดับ แตกต่างจากการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตในตํารับการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญยิ่ง (a= 0.01)
การมีชีวิตรอดของคาร์เนชันเมื่อนํามาเลี้ยงในสภาพแวดล้อมภายนอก ทั้ง 4 ตํารับ การทดลอง พบว่าคาร์เนชันที่ได้รับการกระตุ้นให้เกิดรากในหลอดทดลองปิดปากหลอดด้วยสําลี แล้วนํามาปลูกในวัสดุที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ และในวัสดุที่ผ่านการฆ่าเชื้อ มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด และรองลงมาตามลําดับ คือ 95.00 และ 93.50 เปอร์เซ็นต์ ที่เลี้ยงในขวดเพาะเลี้ยงปิดปากด้วย ฝาพลาสติก นํามาปลูกในวัสดุปลูกที่ผ่านการฆ่าเชื้อและไม่ผ่านการฆ่าเชื้อมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตเป็น 0.00 และ 0.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ
ต้นคาร์เนชันที่นํามาเลี้ยงในโรงเรือนที่มีตาข่ายพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ จํานวน 1 ชั้น มีความยาวของใบและความกว้างของใบมากที่สุด 11.97 และ 0.49 เซนติเมตร ตามลําดับเมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างจากตํารับการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ ส่วนความสูงของต้นทุกตํารับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
จากการศึกษานี้สามารถเก็บเชื้อพันธุ์ไว้ขยายพันธุ์และศึกษาต่อไปได้
|