ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
นฤมล ระเด่น, วรรณา จุเส้ง |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2548 |
|
เลขหมู่: |
ว.363.7394 น916ก |
|
รายละเอียด: |
การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบบําบัดน้ำเสียอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา โดยใช้ Effective Microorganism (EM) โดยทําการศึกษาคุณลักษณะน้ำเสีย 6 พารามิเตอร์ ดังต่อไปนี้ ค่าความเป็น กรด-ด่าง (pH) ปริมาณของแข็งแขวนลอย (Suspended Solid : SS) ความต้องการ ออกซิเจนทางชีวเคมี (Biochemical Oxygen Demand : BOD) ความต้องการออกซิเจนทางเคมี (Chemical Oxygen Demand : COD) ไนโตรเจน (Total kjeldahl Nitrogen : TKN) และฟอสฟอรัส (Total Phosphorus : TP) โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ไม่เติม EM และช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่เติม EM ผลการ ศึกษา พบว่าในช่วงที่ 1 ไม่เติม EM ผลการตรวจวัดในทุกพารามิเตอร์มีค่าเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจาก อาคาร ยกเว้นค่า pH ที่ได้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ําจากอาคาร ส่วนในช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่เติม EM ผลการตรวจวัด มีค่าดังนี้ คือ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 7.15 - 7.29 ปริมาณของแข็งแขวนลอย (SS) อยู่ในช่วง 8 – 15 mg/L ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (BOD) อยู่ในช่วง 30 – 90 mg/L ความ ต้องการออกซิเจนทางเคมี (COD) อยู่ในช่วง 73.4 – 156 mg/L ไนโตรเจนอยู่ในช่วง 22.4 – 112 mg/L และ ฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง 0.55 - 1.1 mg/L ดังนั้นในการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณลักษณะน้ำเสียภายหลังการใช้ EM ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบบําบัดน้ำเสีย พบว่า ทุกค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจาก อาคารประเภทง (ตั้งแต่ 10 ห้อง แต่ไม่ถึง 50 ห้อง) ส่วนประสิทธิภาพของระบบบําบัดน้ำเสีย ทั้ง 2 ช่วงนี้ พบว่า ช่วงที่ 1 ประสิทธิภาพในการบําบัดน้ำเสียเท่ากับ 33.33% ซึ่งถือได้ว่าต่ำมาก ส่วนช่วงที่ 2 ประสิทธิ ภาพในการบําบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้น 21.42 % ซึ่งแสดงว่า EM เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการปรับปรุง ประสิทธิภาพของระบบบําบัดน้ำเสีย |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 ทฤษฏีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง บทที่4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูล |
|