การวิเคราะห์ปริมาณตะกั่ว ทองแดง แคดเมียม ในผักบริเวณตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา (กรณีศึกษา : หมู่ที่5)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ระวิวรรณ เฮ้งนุ้ย, อภิระดี ถิระผะลิกะ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

ว.363.7384 ส46ก

รายละเอียด: 

จากการวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่ว (Pb) ทองแดง (Cu) แคดเมียม (Cd) ในผักบริเวณตําบลบางเหรียง อําเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา (กรณีศึกษา:หมู่ที่5) ซึ่งวิเคราะห์ในผักตัวอย่าง 3 ชนิดคือผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และมะเขือยาว ในการวิเคราะห์ได้ใช้เทคนิค Absorption Spectrometry ในการวิเคราะห์พบว่าปริมาณตะกั่ว ในผักคะน้า ผักกวางตุ้งและมะเขือยาวอยู่ในระดับ 21.48, 36.26, และ 14.52 mg/ kg ตามลําดับ เมื่อนํามา เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานโลหะหนักในผักประเทศอังกฤษที่กําหนดค่ามาตรฐานตะกั่ว 61 mg/kg มีค่าไม่ เกินค่ามาตรฐานซึ่งอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ปริมาณทองแดงในผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และมะเขือยาวอยู่ใน ระดับ 50.96, 82.12 และ 140.58 rng kg ตามลําดับ นํามาเปรียบเทียบกับ ค่ามาตรฐานโลหะหนักในผักของ ประเทศอังกฤษที่กําหนดค่ามาตรฐานทองแดง 0.84 mg kg เป็นค่าที่เกินมาตรฐาน ทั้งนี้อาจมาจากปัจจัยด้าน ต่าง ๆ เช่น ฝุ่นผงจากโรงงาน น้ําโสโครก และจากสารฆ่าเชื้อรา (ศุภมาส พนิชศักดิ์พัฒนา, 2539) และ ปริมาณแคดเมียมผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และมะเขือยาวอยู่ในระดับน้อยมากไม่สามารถตรวจพบได้ และ ปริมาณแคดเมียมอยู่ในระดับที่ไม่เกินค่ามาตรฐานโลหะหนักในผักของประเทศอังกฤษที่กําหนดค่ามาตร ฐานแคดเมียม 23 mg/kg ARE สําหรับเกณฑ์กําหนดตะกั่วในผักตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณะสุขของประเทศไทยกําหนดไว้ 0.1 ppm ส่วนทองแดง และแคดเมียมไม่ได้กําหนดค่ามาตรฐานไว้ ในการวิเคราะห์พบว่าปริมาณตะกั่วใน ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และมะเขือยาวอยู่ในระดับ 0.1074, 0.1813และ 0.0726 ppm ตามลําดับ ผักคะน้า ผักกวางตุ้งมีค่าเกินเกณฑ์กําหนดตะกั่วในผักตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณะสุขของประเทศไทยที่กําหนด ไว้ ส่วนมะเขือยาวมีค่าไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนด สําหรับปริมาณตะกั่ว ที่วิเคราะห์ได้เกินเกณฑ์กําหนดตะกั่วใน ผักตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย อาจมีสาเหตุมาจาก ตะกั่วจะมีการปนเปื้อนอยู่ในปุ๋ย สารเคมีที่ใช้ในการเพิ่มผลผลิต และในยาปราบศัตรูพืชได้แก่ปุ๋ยฟอสเฟต และเลดอะซีเนต ซึ่งจะมีปริมาณ ตะกั่วปนเปื้อนอยู่ในปริมาณที่สูง (สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์, 2541) โrt d1 เมื่อนําผลการวิเคราะห์ปริมาณตะกั่ว ทองแดง แคดเมียม เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานโลหะหนัก ในผักของประเทศเวียดนาม ซึ่งพบว่าปริมาณตะกั่วในผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และมะเขือยาวอยู่ในระดับ 21.48, 36.26, และ14.52 mg kg ตามลําดับ โดยมาตรฐานโลหะหนักในผักของประเทศเวียดนามกําหนดค่ามาตร ฐานตะกั่ว 0.60 mg/kgพบว่าปริมาณทองแคงเกินค่ามาตรฐานปริมาณทองแดงในผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และ มะเขือยาวอยู่ในระดับ 50.96, 82.12และ 140.58 mg/ kg ตามลําดับ โดยมาตรฐานโลหะหนักของผักประเทศ เวียดนามกําหนดค่ามาตรฐานไว้ 2.00 mg| kg และปริมาณแคดเมียมในผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และมะเขือยาว อยู่ในระดับน้อยมากไม่สามารถตรวจพบได้(N.D) โดยปริมาณ โลหะหนักในผักของประเทศเวียดนามกําหนด ค่ามาตรฐานแคดเมียมไว้ 0.03 mg/kg ซึ่งพบว่าปริมาณตะกั่วและปริมาณทองแดงในผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และมะเขือยาวมีค่าเกินมาตรฐานโลหะหนักของผักประเทศเวียดนาม ส่วนปริมาณแคดเมียมอยู่ ในระดับที่น้อยมากไม่สามารถตรวจพบได้(N.D) จึงไม่เกินมาตรฐานที่กําหนดไว้ ซึ่งอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ต่อผู้บริโภค ซึ่งจะเห็นได้ว่าปริมาณตะกั่ว ทองแดง แคดเมียม ที่ปนเปื้อนอยู่ในผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และ มะเขือยาวอยู่ในระดับที่ต่างกันโดยปริมาณตะกั่วและปริมาณแคดเมียมเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานการ ปนเปื้อนโลหะหนักในผักของประเทศอังกฤษพบว่าไม่เกินมาตรฐานที่กําหนดจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค ส่วน ปริมาณทองแดงเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานการปนเปื้อนโลหะหนักในผักของประเทศอังกฤษพบว่ามีค่าเกิน มาตรฐานที่กําหนด เกณฑ์กําหนดตะกั่วในผักตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณะสุขของประเทศไทยมาตรฐานกําหนดไว้ 0.1 ppm ส่วนทองแดง และแคดเมียมไม่ได้กําหนดไว้ โดยผักคะน้า ผักกวางตุ้งมีค่าเกินเกณฑ์กําหนดตะกั่ว ในผักตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณะสุขของประเทศไทยที่กําหนดและมะเขือยาวมีค่าไม่เกินเกณฑ์ กําหนด ปริมาณตะกั่ว ทองแดง แคดเมียม เปรียบเทียบกับมาตรฐาน โลหะหนักในผักของประเทศเวียดนาม พบว่าปริมาณตะกั่ว และปริมาณทองแดงมีค่าเกินมาตรฐาน ส่วนปริมาณแคดเมียมไม่เกินมาตรฐานโลหะ หนักในผักของประเทศเวียดนาม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลและการวิเคราะห์ผล

บทที่5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก