การวิเคราะห์ปริมาณ ตะกั่ว ทองแดง และแคดเมียม ในทะเลสาบสงขลา บริเวณอู่ต่อเรือ : กรณีศึกษาอู่ต่อเรือ หมู่ที่2 ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

จารีย์ นุ้ยดำ, อภิชาติ ไหมช่วย

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

ว.363.7394 จ27ก

รายละเอียด: 

การศึกษาปริมาณโลหะหนัก ตะกั่ว ทองแดง และแคดเมียม ในทะเลสาบสงขลาบริเวณอู่ต่อเรือ: กรณีศึกษาบริเวณอู่ต่อเรือ หมู่ที่ 2 ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา โดยเก็บตัวอย่างน้ําระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน พ.ศ.2548 และวิเคราะห์โดยใช้เครื่อง Inductively Coupled Plasma Emission Spectrophotometer (ICP) ผลการวิเคราะห์พบว่าปริมาณโลหะหนักโดยเฉลี่ยของตะกั่ว แคดเมียม มีปริมาณการปนเปื้อนเท่ากับ 0.0342 ppm และ 0.0017 ppm ตามลําดับ ซึ่งมีค่าไม่เกินมาตรฐานคุณภาพ น้ําทะเลชายฝั่ง อนึ่งเมื่อพิจารณาปริมาณ โลหะ ตะกั่ว และแคดเมียม ในบริเวณจุดเก็บตัวอย่างทั้ง 7 จุด ก็พบว่ามีค่าไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ําทะเลชายฝั่ง ส่วนปริมาณทองแดงนั้นมีปริมาณการปนเปื้อนเฉลี่ย 0.1376 ppm และเมื่อพิจารณาในทุกจุดเก็บตัวอย่าง พบว่ามีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพน้ําทะเลชายฝั่ง ควรได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยด่วน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักกับระยะทางต่างๆ นั้น พบว่าที่ จุดเริ่มต้นจะพบปริมาณการปนเปื้อนของตะกั่ว และทองแดงมากที่สุด คือ 0.0365 และ 0.6027 ppm ตามลําดับ และมีปริมาณน้อยลงตามระยะทางที่ห่างออกไป ซึ่งสอดคล้องตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ คือ ปริมาณโลหะหนักที่พบจะลดน้อยลงตามระยะทางที่ห่างจากอู่ต่อเรือ แตกต่างจากปริมาณแคดเมียมพบ การปนเปื้อนมากที่สุดที่ระยะทาง 500 เมตร คือ 0.0022 ppm ซึ่งไม่สอดคล้องตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ จึง อาจเป็นไปได้ว่าปริมาณแคดเมียมที่ตรวจพบอาจปนเปื้อนมากับแหล่งน้ําธรรมชาติโดยไม่ได้มาจากอู่ต่อ เรือเป็นหลัก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ

บทที่4 ผลการทดลอง

บทที่5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก