การประยุกต์ใช้เตยหอมในการบำบัดน้ำเสียอาคารศูนย์อาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

จุกะวรรณ วีรดุลยฤทธิ์, สมเกียรติ ธีระคงคา

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

ว.363.7394 จ41ก

รายละเอียด: 

การประยุกต์ใช้เตยหอมในการบําบัดน้ําเสียจากการศูนย์อาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดย การสร้างแปลงทดลองเป็นแบบวิ่งประดิษฐ์ บริเวณศูนย์อาหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และวิเคราะห์ คุณลักษณะทางกายภาพ และคุณลักษณะทางเคมี โดยการเก็บตัวอย่างน้ําจะเก็บทุกๆ สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และเก็บทั้งหมด 8 ครั้ง โดยแบ่งการเก็บตัวอย่างน้ําเป็น 2 ระยะ คือ 1.เก็บตัวอย่างน้ําก่อนใช้เตยหอมใน การบําบัด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 (ทุกๆ สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์) และปลูกเตยหอมในแปลงทดลอง ในเดือนมีนาคม 2.เก็บตัวอย่างน้ําที่ใช้เตยหอมในการบําบัดในเดือนเมษายน 2548 (ทุกๆ สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์) โดยทําการศึกษาคุณลักษณะน้ําเสีย 9 พารามิเตอร์ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ (Temperature) ความเป็น กรดเป็นด่าง (pH) ความขุ่น (Turbidity) ปริมาณของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) ปริมาณของแข็งตกตะกอนได้หรือปริมาณตะกอนหนัก (Setleable Solids) ความต้องการออกซิเจนทางเคมี (COD: Chemical Oxygen Demand) ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (BOD :Biochemical Oxygen Demand) ที่เคเอ็นไนโตรเจน(TKN :Total Kjeldahl Nitrogen) และฟอสเฟต (Phosphate) ผลจากการ วิเคราะห์ประสิทธิภาพในการบําบัดเมื่อทําการทดลองโดยใช้เตยหอมในการบําบัดน้ําเสียจากศูนย์อาหาร พบว่าค่าความขุ่น ปริมาณของแข็งแขวนลอยทั้งหมด ปริมาณของแข็งตกตะกอนได้ ความต้องการออกซิเจน ทางเคมี ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี ทีเคเอ็นไนโตรเจน และฟอสเฟตมีประสิทธิภาพในการบําบัด 31.70 % ,32.40 % ,100 % 44.20 % ,39.05 % ,86.90 % และ36.70 % ตามลําดับ ซึ่งจากการศึกษา ประสิทธิภาพพบว่าพารามิเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการบําบัดน้ําเสียด้วยเตยหอมมากที่สุดคือปริมาณ ของแข็งตกตะกอนได้ มีประสิทธิภาพในการบําบัด 100 % เนื่องจากสภาพแปลงทดลองที่มีส่วนช่วยในการ ตกตะกอนของตะกอนหนักได้ดี รวมทั้งของแข็งที่สามารถตกตะกอนได้ จะถูกกําจัดโดยกระบวนการ ตกตะกอน และปริมาณสารแขวนลอยซึ่งจะทําให้น้ํามีความขุ่นก็จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ภายในแปลง รองลงมาคือปริมาณที่เคเอ็นไนโตรเจนมีประสิทธิภาพในการบําบัด 86.90 % เนื่องจากเตยหอมดูดซับ ไนโตรเจนเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และสารอินทรีย์ไนโตรเจนที่อยู่ในน้ําถูกย่อยสลายให้กลายเป็น ก ข , เน : 8 : แอมโมเนียและจุลินทรีย์ที่อยู่ในแปลงทดลองดึงไปใช้เป็นสารอาหารและใช้ในการสร้างเซลล์ และค่า ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (BOD) มีประสิทธิภาพในการบําบัด 39.05 % เพราะแปลงทดลองมี ลักษณะเป็นระบบบําบัดที่เลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งจุลินทรีย์จะใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายความสกปรกใน น้ําเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ แม้ว่าค่าที่ได้หลังจากการบําบัดยังเกินมาตรฐานคุณภาพน้ําทิ้งจากอาคาร แต่ช่วยให้ค่าความสกปรกของน้ําหลังการบําบัดมีค่าลดลง ทั้งนี้พารามิเตอร์ที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดคือ ค่าความขุ่น มีประสิทธิภาพ 31.70 % เพราะของแข็งที่สามารถตกตะกอนได้ก็จะตกตะกอนอยู่กัน และ ตะกอนที่ไม่สามารถตกตะกอนได้จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ภายในแปลงทดลอง จากการศึกษาในครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือเตยหอมมีประสิทธิภาพ ในการลดปริมาณของเสียที่อยู่ในรูปของสารอินทรีย์และตะกอนหนัก และยังช่วยในการบําบัดน้ําเสียได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีวิจัย

บทที่4 ผลและการวิเคราะห์ผล

บทที่5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก