การผลิตและประยุกต์ใช้สาหร่ายขนาดเล็กเพื่อทดแทนปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

พัชรี หลุ่งหม่าน, นฤมล อัศวเกศมณี, เสาวนิตย์ ชอบบุญ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.639.31 พ112ก

รายละเอียด: 

ปัจจุบันสาหร่ายขนาดเล็กได้นํามาประยุกต์ใช้เพื่อการค้า เช่น นํามาผลิตเป็นอาหารเสริม เพิ่มคุณค่าทางอาหาร สําหรับมนุษย์และเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากมีโปรตีนสูง นอกจากนี้ยังพบว่าสาหร่ายยังผลิตสารสี ใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ดังนั้นในงานการวิจัยนี้จึงได้ใช้สาหร่ายขนาดเล็ก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Chlorella sp. Haematococcus sp. และ Aphanothect saricola ซึ่งแยกได้จากบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นํามาเลี้ยงในอาหารสูตร Alens, BG-11 และ NSII เพื่อผลิตโปรตีนและแคโรทีนอยด์ และนํามาประยุกต์ใช้เป็นแหล่งโปรตีน ทดแทนปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ผลการศึกษาพบว่า Aphanothiece savicola มีประสิทธิภาพในการผลิตโปรตีนสูงสุด 339.62 ug/ml จึงนําสาหร่ายและสูตรอาหารดังกล่าวไปศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสม ส่วน Chlorella sp. ผลิตแคโรทีนอยด์สูงสุด 1,613.68 µgml เมื่อนําสูตรอาหาร Allen s มาศึกษาความเข้มข้นของ สารอาหารที่เหมาะสม โดยการออกแบบสูตรอาหารด้วยวิธี Two-level factorial design จากนั้นนําสาหร่ายมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารที่ 27 ซึ่ง ประกอบด้วย NaNO3 0.05 g/1, K2HPO4, 0.002 g/1, MgSO4, TH,0 0.0095 g/1, CaCI, 0.003 gl และ trace element 0.15 g/10 ผลิตโปรตีนได้ 799.62 ug/ml ซึ่งสูงจากสูตรเริ่มต้น 2.35 เท่า เมื่อนํา Aphanothece Saricola มาวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า มีปริมาณไนโตรเจนเฉลี่ย 0.93 % ไขมัน 0.26% และเถ้า 6.83 % ใช้สาหร่าย Aphanotheca saricola (OD. 1.088) ทดแทนปลาป่นในสูตรอาหารที่ระดับ 0, 10, 20 และ 30 % เพื่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย น้ำหนักเฉลี่ย 3.5 กรัม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า สามารถ ใช้สาหร่าย Aphanotheca Saricola แทนปลาป่นได้ ในระดับ 10 % และ 20 % ในสูตรอาหาร ซึ่งไม่ มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต เมื่อเทียบกับอาหารสูตรควบคุม และปลาดุกบิ๊กอุยที่ได้รับอาหาร ทดลองที่มีสาหร่าย Aphanotheca Saricola ระดับ 20 % และ 30 % มีค่าสีผิวที่ค่าความเข้มของสี แดง (2*) และสีเหลือง (b* ) ดีที่สุด

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

บทที่3 วิธีดำเนินงานวิจัย

บทที่4 ผลและวิจารณ์ผลการวิจัย

บทที่5 สรุปผลการวิจัย

บรรณานุกรม

ภาคผนวก