พยากรณ์ราคายาง

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุระพรรณ์ จุลสุวรรณ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2552

เลขหมู่: 

ว.338.17389 ส47พ

รายละเอียด: 

สหกรณ์กองทุนสวนยางเป็นสหกรณ์ทางการเกษตรมีสภาพเป็นนิติบุคคลในรูปสหกรณ์ กองทุนสวนยาง...(ชื่อกลุ่ม)...จำกัด โดยทำหน้าที่ในการรวบรวมผลผลิต (น้ำยางสด) มาเพื่อแปรรูปเป็นผลผลิตประเภทต่าง ๆ ลักษณะการดำเนินการของสหกรณ์กองทุนสวนยางค่อนข้างจำกัด เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตหลักซึ่งได้แก่น้ำยางสดที่ซื้อจากชาวสวนยางและราคาผลผลิตที่ขายให้กับโรงงานหรือตลาดกลางล้วนแล้วแต่อิงอยู่กับตลาดกลางทั้งสิ้น จึงทำให้สหกรณ์กองทุนสวนยางไม่มีโอกาสแสวงกําไร ในปี พ.ศ. 2550 สหกรณ์กองทุนสวนยางร้อยละ 23.80 มีผลการดำเนินการขาดทุน จากระยะเวลาในแปรรูปจากยางแผ่นดิบเป็นยางแผ่นรมควันที่ต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน และจากมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทั้งสองประเภท หากสหกรณ์สามารถทราบราคาของยางแผ่นรมควัน ล่วงหน้าได้ประมาณ 4-5 วัน นับว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินใจว่าควรจะผลิตยาง ประเภทไหนจึงจะได้รับกำไรสูงสุด ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงประสงค์ที่ทำการพยากรณ์ราคายาง แผ่นรมควันล่วงหน้า โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ พยากรณ์ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ล่วงหน้า 5 วัน (2) เพื่อพยากรณ์ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ล่วงหน้า 5 วัน และ (3) เพื่อเลือกแบบจําลองที่เหมาะสมสําหรับการพยากรณ์ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ล่วงหน้า 5 วัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการพยากรณ์ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในลักษณะอนุกรม เวลา ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทําการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ เปรียบเทียบระหว่างความสัมพันธ์ในลักษณะเส้นตรงและไม่เป็นเส้นตรงเพื่อหารูปแบบความสัมพันธ์ที่เหมาะสมในการพยากรณ์ โดยในการเลือกและการนําเสนอผลการวิจัยได้คํานึงถึงมาตราฐานทางด้านสถิติ มาตรฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์ และมาตรฐานทางด้านเศรษฐมิติ จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่ามีปัจจัยที่คาดว่ามีผลต่อราคายาง แผ่นรมควันชั้น 3 ล่วงหน้า 5 วัน คือ ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ ปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยน อัตรา ดอกเบี้ย ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า 1-6 เดือน ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้า 1-6 เดือน ปริมาณสั่งซื้อน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า 1-6 เดือน ปริมาณสั่งซื้อยางแผ่นรมควันชั้น 3 ใน ตลาดล่วงหน้า 1-6 เดือน และฤดูกาล จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณในครั้งแรกของแบบจําลองทั้ง 2 แบบคือแบบจําลองเส้นตรง และแบบจําลองที่ไม่เป็นเส้นตรง พบว่า มีปัจจัยหลายตัวที่ไม่มีความสัมพันธ์หรือไม่มีอํานาจในการ พยากรณ์ตัวแปรอิสระได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงทําการตัดตัวแปรอิสระดังกล่าวออกไปและทําการวิเคราะห์ แบบจําลองทั้ง 2 อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพบว่าตัวแปรอิสระที่ได้จากการวิเคราะห์ครั้งนี้มีความสัมพันธ์กับตัว แปรตามอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทุกตัว ทําให้ได้แบบจําลองที่เหมาะสมสําหรับการพยากรณ์ตัวแปร อิสระหรือราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ล่วงหน้า 5 วัน และจากการพิจารณาค่าทางสถิติต่าง ๆ พบว่า แบบจําลองเส้นตรงที่ได้จากการวิเคราะห์ครั้งที่ 2 มีความเหมาะสมที่สุด โดยมีสมการพยากรณ์ดังนี้ PR1+5 = 114.88+.68PR1 - 15.39INT1 - 0.01POF2, +0.01POF4 -0.12PRF1, -0.87 PRF2 +1.07PRF3 +0.80PRF4 -0.86 PRF6 +10.44M1 +10.56M2 +9.03M3 +8.42M4 +12.15M5 + 18.80M6 +15.89M7 +15,98M8 +14.49M9 +9.8IM1010 F – statistic =719, R2 = .98, adjR2 = .98, D.W. = .90 โดยที่ PR1+5 คือ ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ล่วงหน้า 5 วัน PR1คือราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ ปัจจุบัน INT1 คือ อัตราดอกเบี้ยทางการประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย POF2, POF4 คือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า TOCOM 2 เดือนและ 6 เดือนตามลําดับ PRF1, PRF2, PRF3, PRE5, PRE6คือ ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้า TOCOM 1, 2, 3, 5 และ 6 เดือน ตามลําดับ และ M1 , M2 ,…, M10หมายถึงเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม ผลจากการพยากรณ์ในครั้งนี้ ผู้วิจัยขอเสนอแนะให้สํานักงานสงเคราะห์การทําสวนยาง สหกรณ์จังหวัด นําผลการศึกษานี้ไปจัดทําเป็นโครงการถาวรเพื่อพยากรณ์ข้อมูลรายวัน และนําผล การพยากรณ์เผยแพร่และส่งข้อมูลให้กับสหกรณ์กองทุนสวนยางเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจผลิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 แนวคิดทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 ระเบียบวิธีการวิจัย

บทที่4 ผลการศึกษา

บทที่5 สรุป ข้อเสนอแนะ และการนำผลการวิจัยไปใช้

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย