การศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและสาหร่ายสีเขียว ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เสาวนิตย์ ชอบบุญ, พัชรี หลุ่งหม่าน

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.579.8 ส517ก

รายละเอียด: 

การศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและสาหร่ายสีเขียว ใน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจสายพันธุ์และเก็บรวบรวมสายพันธุ์สาหร่ายสี เขียวแกมน้ำเงินและสาหร่ายสีเขียว โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 บริเวณแหล่งน้ำ พื้นดิน วัสดุต่างๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จํานวน 8 สถานี นําตัวอย่าง ที่เก็บมาเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว BGA, BG-11, Allen s และ NS III บ่มภายใต้แสงฟลูออเรสเซน เป็นเวลา 7 วัน ทําการแยกสาหร่ายให้บริสุทธิ์บนอาหารแข็ง และตรวจลักษณะทางสัณฐานวิทยา ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง เพื่อวินิจฉัยหมวดหมู่ตั้งแต่ระดับ คิวิชัน อันดับ วงศ์ สกุล และ ชนิด ตามแนววินิจฉัยของ Smith (1950), IDesikachary (1959), Komarek และ Anagnostidis (1998), กาญจนภาชน์ (2527), ลัดดา (254) และมัณฑนา (2543) ผลการศึกษาพบ 30 สกุล 66 ชนิด อยู่ในดิวิชัน Cyanophyta 21 สกุล 50 ชนิด ดิวิชั่น Chlorophyta 9 สกุล 16 ชนิด การกระจายของสาหร่ายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พบว่าสาหร่าย สีเขียวแกมน้ำเงินสกุล Oscillatoria มีการกระจายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาได้แก่ Nostoc และ Calothrir คิดเป็นร้อยละ 62.5 ในส่วนของสาหร่ายสีเขียวสกุล Scenedesmus มีการ กระจายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาได้แก่ Chlorella คิดเป็นร้อยละ 37.5

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 ตรวจสอบเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 อุปกรณ์และวิธีการวิจัย

บทที่4 ผลการวิจัย

บทที่5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก