ศึกษาชนิดของปลาน้ำจืดและคุณค่าทางโภชนาการในการผลิตปลาร้าพื้นเมืองท้องถิ่นภาคใต้

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

นฤมล อัศวเกศมณี

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.664.028 น916ศ

รายละเอียด: 

ศึกษาชนิดของปลาน้ําจืดเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ปลาร้าพื้นเมืองท้องถิ่นภาคใต้ โดยใช้ ปลาดุกอุย ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสลิดและ ปลาดุกบิ๊กอุย เป็นวัตถุดิบหลักซึ่งมีอัตราส่วน น้ำตาลทราย : เกลือ : ปลา (1 : 1 : 10) และผ่านกรรมวิธีการผลิตปลาร้าแบบพื้นเมือง ท้องถิ่นภาคใต้ ศึกษาลักษณะทางกายภาพและประสาทสัมผัส ด้วยวิธีการทดสอบการยอมรับทางด้านประสาทสัมผัส ได้แก่ ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น เนื้อสัมผัส รส การยอมรับรวม โดยวิธี 7-point hedonic scale โดยใช้กลุ่มผู้ทดสอบทั่วไป พบว่า ปลาดุกบิ๊กอุยและปลาดุกอุย ให้ผลการยอมรับมากที่สุด (5.75 + 1.11 และ5.63 +1.63) (p>0.05) รองลงมาคือ ปลานิล ปลาตะเพียนและปลาสลิด (5.25+1.13, 4,80+ 1.24 และ 4.53 +1.94) ตามลําดับ (p<0.05) และเมื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ พบว่า ผลิตภัณฑ์ปลาร้าจากปลานิลให้คุณค่าทางโภชนาการด้านโปรตีนสูงสุดเมื่อเทียบ กับปลาดุกบิ๊กอุย ปลาสลิดและปลาตะเพียน (p<0.01) แต่ไม่แตกต่างจากปลาดุกอุย (p>0.01) และ ผลิตภัณฑ์ปลาร้าจากปลาดุกบิ๊กอุย ให้คุณค่าทางโภชนาการด้านไขมันสูงสุด เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ ปลาร้าพื้นเมืองที่ผลิตจากปลาชนิดอื่นๆ (p<0.01) ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะใช้ปลาดุกบิ๊กอุยเป็น วัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์ปลาร้าพื้นเมืองแทนปลาดุกอุยที่กําลังสูญพันธุ์ในขณะนี้ และผลิตภัณฑ์ปลาร้าพื้นเมืองที่ผลิตจากปลานิล ปลาดุกอุย และปลาดุกบิ๊กอุย มีคุณค่าทางโภชนาการที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ปลาร้าพื้นเมืองที่ผลิตจากปลาน้ำจืดชนิดอื่น ๆ จึงเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่นิยม บริโภคผลิตภัณฑ์ปลาร้าพื้นเมืองเพื่อให้ได้รับคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด คําสําคัญ: ปลาร้าพื้นเมือง ปลาน้ำจืด โภชนาการ การทดสอบทางประสาทสัมผัส

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการดำเนินการวิจัย

บทที่5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก