สภาวะที่เหมาะสมในการเลี้ยงหนอนนก เชิงอุตสาหกรรม เขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

นฤมล อัศวเกศมณี

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2550

เลขหมู่: 

ว.638.57 น916ส

รายละเอียด: 

การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเลี้ยงหนอนนก (Tenebrio molitor L.) เชิงอุตสาหกรรม ในจังหวัดสงขลา โดยการศึกษาประกอบด้วย การสํารวจความต้องการหนอนนกในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ เขตอําเภอเมือง จังหวัดสงขลา พบว่า กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ประมาณร้อยละ 95 เป็นเพศชาย ซึ่งมีงานอดิเรกเป็นการเลี้ยงหนอนนกร้อยละ 47 ส่วนใหญ่ใช้หนอนนกในการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะนกกรงหัวจุก (Pycnonotus jocosus) โดยไม่มีความรู้เกี่ยวกับหนอนนก และไม่ทราบแหล่งผลิตผู้เลี้ยงสัตว์ เห็นว่า กําลังการผลิตหนอนนก ยังเพียงพอต่อความต้องการ แต่ยังมีบางส่วนที่ให้ความสําคัญและคิดจะเพาะเลี้ยงหนอนนกเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์เอง การศึกษาการเลี้ยงหนอนนกโดยใช้ภาชนะที่แตกต่างกัน คือ กะละมังพลาสติก กะละมังเคลือบ กะละมังอลูมิเนียม และกะละมังดินเผา โดยให้หัวอาหาร ไก่เล็กเป็นอาหารทุกชุดการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบชนิดของภาชนะที่ใช้เลี้ยง พบว่า หนอนนกที่เลี้ยงในกะละมังพลาสติก ให้อัตราการเจริญเติบโตจําเพาะต่อวัน ดีที่สุด คิดเป็น 11.01+0.90 ร้อยละ/วัน ซึ่งไม่แตกต่าง (P>0.05) จากหนอนนกที่เลี้ยงในกะละมังดินเผา แต่แตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญ (P<0.05) จากแต่หนอนนกที่เลี้ยงในกะละมังเคลือบ และกะละมังอลูมิเนียม การศึกษาการเลี้ยงหนอนนกโดยใช้อาหารทดลองที่แตกต่างกันดังนี้คือ ปลาป่น เปลือกกุ้งป่น กาก ถั่วเหลือง หางนมผง และหัวอาหาร ไก่เล็ก พบว่า หัวอาหารไก่เล็ก มีผลต่อน้ำหนักเพิ่มขึ้น น้ำหนักที่ เพิ่มขึ้นต่อวัน และอัตราการเจริญเติบโตจําเพาะต่อวัน อย่างมีนัยสําคัญ (P<0.05) คิดเป็น 2.49+0.72 มก./ตัว 0.07+0.02 กรัม และ 0.58+0.03 ซม./ตัว ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบกับหนอนนกที่ได้รับ อาหารทดลองสูตรอื่น ๆ การศึกษาการเลี้ยงหนอนนกโดยการเสริมอาหารสดที่แตกต่างกัน ได้แก่ ผักบุ้ง ผักตําลึง กล้วยน้ำว้า และมะละกอ พบว่า หนอนนกที่เลี้ยงด้วยหัวอาหารไก่เล็กเสริมอาหาร สดแต่ละชนิดให้ผลที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญ (P>0.05) อย่างไรก็ตามการเสริมอาหารสดด้วย ผักบุ้ง มีแนวโน้มให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นความยาวที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตจําเพาะต่อวัน สูงขึ้น และการเสริมด้วยผักตําลึง มีแนวโน้มให้อัตรารอดสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับหนอนนกที่เลี้ยง ด้วยอาหารเสริมสดชนิดอื่น ๆ การศึกษาอาหารสําเร็จรูปสําหรับเลี้ยงหนอนนก โดยใช้วัตถุดิบ ปลา ปุ่น ข้าวโพดบด รายละเอียด กากถั่วเหลือง เปลือกกุ้งป่น วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำมัน ในอัตราส่วนที่ แตกต่างกัน เปรียบเทียบกับการใช้หัวอาหารไก่เล็ก พบว่า หนอนนกที่เลี้ยงด้วยอาหารสําเร็จรูปทุก สูตร ให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ความยาวที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน ร้อยละน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ไม่ (2) แตกต่าง (P>0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับหนอนนกที่เลี้ยงด้วยหัวอาหารไก่เล็ก แต่หนอนนกที่เลี้ยงด้วย หัวอาหารไก่เล็ก มีอัตราการเจริญเติบโตจําเพาะต่อวัน คิดเป็น 6.10 +0.33 ร้อยละ/วัน ที่สูงกว่า (P<0.05) หนอนนกที่เลี้ยงด้วยอาหารสําเร็จรูปสูตรอื่น ๆ สําหรับหนอนนกที่เลี้ยงด้วยอาหาร สําเร็จรูปสูตรที่ 4 มีอัตรารอดในเกณฑ์ที่ต่ํา คิดเป็นร้อยละ 40 (P<0.05) สภาวะที่เหมาะสมในการเลี้ยงหนอนนกเชิงอุตสาหกรรม สามารถเลี้ยงได้ในสภาวะ โรงเรือนปกติ ที่ไม่จําเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ และควรใช้ภาชนะพลาสติก โดยให้อาหารใน รูปแบบอาหารสําเร็จรูป โดยเฉพาะ หัวอาหารไก่เล็ก หรืออาหารสําเร็จรูป และใช้ผักบุ้งเป็นอาหาร เสริม จึงจะส่งผลให้ธุรกิจการเพาะเลี้ยงหนอนนกประสบความสําเร็จมากขึ้น คําสําคัญ : หนอนนก สภาวะที่เหมาะสม ภาชนะที่ใช้เลี้ยงหนอนนก อาหารสด อาหารสําเร็จรูป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินงานวิจัย

บทที่4 ผลการวิจารณ์ผลการวิจัย

บทที่5 สรุปผลการวิจัย

บรรณานุกรม