การวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดิน (บ่อน้ำจืด) เพื่อการบริโภค หมู่ที่6 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

นูรีฮา วาโนะ, รอบีอ๊ะ นาดมา

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.628.16 น417ก

รายละเอียด: 

การวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดิน (บ่อน้ำจืด) เพื่อการบริโภค หมู่ที่ 6 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมือง จังหวัดสตูล เก็บตัวอย่างน้ําทั้งหมด 2 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม และเดือนตุลาคม โดยทําการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ซึ่งกําหนดจุดเก็บตัวอย่างทั้งหมด 5 จุด วิเคราะห์ 11 พารามิเตอร์ดังต่อไปนี้ คือ ความลึก (Depth) ความขุ่น (Turbidity) ความนําไฟฟ้า (Conductivity) ความเป็นกรด - ด่าง (pH) อุณหภูมิ (Temperature) ความเค็ม (Salinity) ออกซิเจน ละลาย (Dissolved Oxygen) ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ความกระด้างทั้งหมด (total hardness) แบคทีเรียโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria) และอีโคไลแบคทีเรีย (E.coil Bacteria) ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ จากจุดที่ 1 ถึง 5 ความลึกมีค่าเฉลี่ย 2.4, 2.0, 3.3, 2.6 และ 2.0 เมตร ตามลําดับ ความขุ่นมีค่าเฉลี่ย 1.15, 0.96, 1.41, 0.90 และ 1.17 เอ็มที ตามลําดับ ความนําไฟฟ้ามีค่าเฉลี่ย 98.1, 121.3, 128.6, 100 แหะ 121.6 ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร ตามลําดับ ความเป็นกรด - ต่าง มีค่าเฉลี่ย 6.4, 6.9, 6.6, 6.5 และ 6.2 ตามลําดับ อุณหภูมิมีค่าเฉลี่ย 29, 30, 28, 29 และ 29 องศาเซลเซียส ตามลําดับความเค็มมีค่าเฉลี่ย 0.45, 0.65, 0.30, 0.25 และ 0.15 พีพีที ตามลําดับ ออกซิเจนละลายมีค่าเฉลี่ย 5.0, 4.4, 5.0, 5.0 และ 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลําดับ ค่าบีโอดีมีค่าเฉลี่ย 1.5, 1.5, 1.4, 1.5 และ1.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลําดับ ความกระด้างมีค่าเฉลี่ย 212, 250, 244, 232 และ 256 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลําดับ แบคทีเรีย โคลีฟอร์มทั้งหมด มีค่ามากกว่า 2 เอ็มพี่เอื่นต่อ 100 มิลลิลิตร ตามลําดับ และอีโคไลแบคทีเรียพบในทุกจุดเก็บตัวอย่างการวิเคราะห์คุณภาพน้ําผิวดิน (บ่อน้ําจืด) เพื่อการบริโภค หมู่ที่ 6 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมือง จังหวัดสตูล เพารามิเตอร์ พบว่า ความเต็มเฉลี่ยในจุดที่ 1,3,4 และ 5 จัดว่าเป็นน้ําจืด ส่วนจุดที่ 2 ความเต็มเฉลี่ย 0.65 ซึ่งจัดว่าเป็นน้ํากร่อย (น้ําจืดมีความเค็ม 0 - 0.5 พีพีที และน้ํากร่อย 0.5 - 30 พีพีที) ความเป็นกรด – ต่างมีค่าเฉลี่ยทุกจุดอยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด มาตรฐานคุณภาพน้ํา บาดาลเพื่อบริโภค (มาตรฐานกําหนด 6.5 - 9.2) ความขุ่นมีค่าเฉลี่ยทุกจุดไม่เกินมาตรฐานคุณภาพ น้ําบาดาลที่ใช้บริโภค (มาตรฐานกําหนดไม่เกิน 5 เอ็มทียู) ค่าออกซิเจนละลายทุกจุดไม่เกิน มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ําผิวดินประเภทที่ 2 (มาตรฐานกําหนดไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อลิตร) ค่าบีโอ ดีทุกจุดไม่เกินมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ําผิวดินประเภทที่ 2 (มาตรฐานกําหนด 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร) ค่าความกระด้างทุกจุดไม่เกินมาตรฐานน้ําบาดาลที่ใช้บริโภค (มาตรฐานกําหนดไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อลิตร) ค่าโคลีฟอร์มแบคทีเรียมีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ําผิวดินประเภทที่ 2 ทุกจุด (มาตรฐานกําหนดไม่เกิน 2.2 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร) และอีโคไลพบทุกจุดมีค่ามากกว่า ดังนั้น คุณภาพน้ําผิวดิน (บ่อน้ําจืด) เพื่อการบริโภค หมู่ที่ 6 ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมือง จังหวัดสตูล ไม่สามารถดื่มได้โดยตรง เพราะว่าบ่อน้ําจืดในแต่ละจุดมีการปนเปื้อนของเชื้ออีโคไล ซึ่งหากพบอีโคไลในน้ําดื่ม หรือดื่มน้ําที่มีการปนเปื้อนเชื้อดังกล่าวก็จะทําให้เกิดอาการท้องร่วงได้ ดังนั้นหากต้องการใช้น้ําเพื่อการบริโภคจะต้องทําการบําบัดน้ําก่อนโดยการกรองหรือต้มน้ําก่อนดื่ม เพื่อลดการปนเปื้อนจากเชื้ออีโคไล

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีการดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการทดลอง

บทที่5 สรุปผลการทดลอง

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย