ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
สุริยัน ชิตพูล, อาสูรา มาหะมะ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2551 |
|
เลขหมู่: |
ว.363.7394 ส47ก |
|
รายละเอียด: |
จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพชานอ้อยและเปลือกหอมใหญ่ในการดูดซับ โครเมียมที่ละลายในน้ํา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการดูดซับโครเมียมที่ละลายน้ํา และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวดูดซับระหว่างชานอ้อยและเปลือกหอมใหญ่ที่ใช้ใน กระบวนการลดโครเมียมที่ละลายน้ํา ผลการศึกษาความสามารถในการดูดซับโครเมียมของ ชานอ้อยและเปลือกหอมใหญ่ในการดูดซับโครเมียมที่ปริมาณ 10, 30 และ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า ชานอ้อยสามารถลด โครเมียม ได้ร้อยละ 84.3, 90.9 และ 94.5 ตามลําดับ และ เปลือกหอมใหญ่สามารถลดปริมาณโครเมียมร้อยละ 80.3, 88.4 และ 94.0 ตามลําดับ ผลการศึกษา พบว่าปริมาณ โครเมียม 10, 30 และ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร มีผลต่อประสิทธิภาพใน การดูดซับโครเมียมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ 0.05 ซึ่งจะเห็นได้ว่าชานอ้อยมีประสิทธิภาพใน การดูดซับโครเมียมได้ดีกว่าเปลือกหอมใหญ่ ดังนั้นจากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชานอ้อย (94.5 เปอร์เซ็นต์) และ เปลือกหอมใหญ่ (94.0 เปอร์เซ็นต์) ในการดูดซับโครเมียมที่ละลายน้ํา สามารถสรุปได้ว่าชานอ้อยมี ประสิทธิภาพในการดูดซับโครเมียมได้ดีกว่าเปลือกหอมใหญ่ เนื่องจากชานอ้อยมีเส้นใย และ มี ส่วนประกอบของเซลล์ลูโลสและลึกนั้นสูง (ออนไลน์เข้าถึงได้จากhttp://www.ldd.go.th new hpwichakarn/Symposium/-57-344.html) ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูดซับ อีกทั้งคุณสมบัติ ของตัวดูดซับไม่ว่าจะเป็นเส้นใยและโครงสร้างของรูพรุน ซึ่งพื้นผิวมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรูพรุน เส้นใย หากรูพรุนและเส้นใยมีมากทําให้มีพื้นที่ผิวดูดซับมาก ทั้งนี้ความสามารถใน การดูดซับก็จะมากขึ้น การดูดซับจะเกิดได้ดีเมื่อโมเลกุลตัวถูกดูดซับมีขนาดเล็กกว่ารูพรุนเล็กน้อย (ออนไลน์เข้าถึงได้จาก http://search.sanook.com/knowledge/enc_preview.php?-id=1450) การศึกษาครั้งนี้ เป็นเพียงการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ ชานอ้อยและเปลือกหอมใหญ่มาบําบัดโครเมียม เพื่อลดปริมาณ โครเมียมที่ละลายในน้ําซึ่งเป็น กระบวนการที่ทําได้ง่าย เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบําบัดน้ําเสียที่มีการปนเปื้อนโครเมียมด้วยวิธีนี้ ใช้ต้นทุนน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย ง่ายต่อการบําบัดและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีได้มากที่สุด ซึ่งเป็น การนําวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เป็นตัวดูดซับในการดูดซับโครเมียมที่ละลาย ในน้ํา |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง |
|