การประเมินคุณภาพน้ำชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวหาดสมิหลา จังหวัดสงขลา : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ปนัดดา หลงจิ, พนิดา ยูโซ๊ะ, อุทุมพร ยามาสัน

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2552

เลขหมู่: 

ว.577.63 ป15ก

รายละเอียด: 

คุณภาพน้ําชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวหาดสมิหลา จังหวัดสงขลา ศึกษาในวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 (วันธรรมดา) และวันที่ 12 สิงหาคม 2552 (วันหยุด) จากจุดเก็บตัวอย่าง 20 จุดโดยทําการ ตรวจวัดคุณภาพน้ําทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ และวิเคราะห์หาปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไนเตรท-ไนโตรเจน ฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส ทีซีบี และเอฟซีบี คุณภาพน้ําทางกายภาพและเคมี โดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ําทะเล ยกเว้น บริเวณสวนสองทะเล (Sta) และบริเวณหน้าสนามยิงปืนราชนาวี (S9b) ปริมาณออกซิเจนละลายน้ํา มีค่าต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐาน สําหรับผลการศึกษาคุณภาพน้ําชายฝั่งหาดสมิหลา ปริมาณแอมโมเนีย ไนโตรเจน ไนเตรท ไนโตรเจน ฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส มีค่า 1.68-15.40, 2.55-37.77, 0.56-5.21 ไมโครกรัม/ลิตร ตามลําดับ แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและแบคทีเรียกลุ่มฟิคัลโคลิฟอร์ม มี ค่า <3-1,100 เอ็มพีเอ็น/100 มล. และ <3-460 เอ็มพีเอ็น/100 มล. โดยมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน บริเวณชุมชนเก้าเส้ง (S10a) นอกจากนี้พบว่าในช่วงวันหยุดมีปริมาณธาตุอาหารและแบคทีเรียสูง กว่าวันธรรมดา เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวมาทํากิจกรรมบริเวณชายฝั่งเป็นจํานวนมาก จึงทําให้เพิ่ม โอกาสการปล่อยของเสียลงสู่บริเวณชายฝั่ง จากการประเมินคุณภาพน้ําชายฝั่งหาดสมิหลา โดยใช้ดัชนีคุณภาพน้ําทะเล พบว่าคุณภาพ น้ําอยู่ในเกณฑ์พอใช้ อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ําที่เริ่มเสื่อมโทรม หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงและผู้ที่มีส่วนปล่อยน้ําเสีย ลงสู่ทะเลจะต้องร่วมมือกันเพื่อให้การท่องเที่ยวไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ําชายฝั่งหาดสมิหลา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีการวิจัย

บทที่4 ผลและการอภิปรายผลการวิจัย

บทที่5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก