ศึกษาการปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

มานี เตื้อสกุล, ภวิกา บุณยพิพัฒน์, จิรพงศ์ สุขจันทร์, ณิศา มาชู, กมลทิพย์ นิคมรัตน์, จรรยา แสงวรรณลอย, พินิจ ดำรงเลาหพันธ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.635.8 ม25ศ

รายละเอียด: 

การศึกษาปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต และอาหารปลอดภัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการเพาะเห็ด ปัญหา การแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดสงขลาและใกล้เคียง พัฒนาการผลิตโดยจัดสร้างเครื่องมือที่เหมาะสม ปรับปรุงพันธุ์เห็ดขอนขาว(Lentinus squarrosulus ) โดยใช้สารโคลชิซินที่มีความเข้มข้นและเวลาในการให้สารแตกต่างกัน ศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดและนําก้อนเห็ดที่หมดอายุมาใช้เพาะเลี้ยงไรแดงเป็นอาหารสัตว์น้ำ ผลปรากฏดังนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้าภูฐานดําและนางรมฮังการี่ โรงเรือนอยู่ในสวน ยางพารา ใต้ต้นไม้และที่โล่งแจ้ง ปัญหาได้แก่ โรคจากเชื้อรา ราเขียว ราดํา แมลงต่างๆ และหนู แก้ปัญหาโดยใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหนู และเชื้อไมโตฟากัส ได้แยกเชื้อจากเห็ดพบเชื้อ 4 สกุลได้แก่ Trichoderma ap. Aspergillus มี 2 species คือ Aspergillus niger และ Aspergillus flavus Penicilium sp. Neurospora sp. พบสาร carbary! จํานวน 1 แห่ง และพบสารฟอร์มาลิน จํานวน 2 แห่ง การปรับปรุงพันธุ์เห็ดขอนขาว โดยการให้สารโคลชิซินที่มีความเข้มข้น 0.0, 0.1, 0.3, 0.5 เปอร์เซ็นต์ นาน 1, 5, 10, และ 15 นาที พบว่าเห็ดที่ได้รับสารโคลชิซินมีจํานวนนิวเคลียสหลาย นิวเคลียส สามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยน้ำหนักดอกเห็ด119.16 กรัม/ก้อน สูงกว่า เห็ดที่ไม่ได้รับสารคุณค่าทางอาหาร โปรตีน ไขมัน เถ้า และเส้นใยไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนแคลเซียมของเห็ดที่ได้รับสารมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าที่ไม่ได้รับสาร ได้ออกแบบโรงเรือนและเพาะเห็ดพบว่าสามารถเพาะเห็ด ได้ค่าเฉลี่ยผลผลิตสูง เห็ดสะอาด สด ลดการทําลายจากแมลง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเห็ดพบว่าผู้บริโภคให้ความสนใจแหนมเห็ด เห็ดปรุงรส และเห็ดอบเนย และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดจํานวน 2 ชนิด คือ แหนมและเห็ดนางฟ้าปรุงรส ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีปริมาณโปรตีนสูง และมีไขมันน้อย ก้อนเห็ดที่หมดอายุสามารถนํามาเพาะเลี้ยงไรแดงได้ผลดี จากการศึกษาสามารถเพาะเห็ดได้ผลผลิตสูง และปลอดภัยต่อการบริโภค

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิจัย

บทที่5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก