การศึกษาการใช้สาหร่ายผมนาง Gracilaria Fisheri ทดแทนเจลาตินบางส่วนในการทำเยลลี่ส้มแขก

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ลัดดาวัลย์ ช่วยส่ง, อุศนา มานะพงษ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.579.8 ล114ก

รายละเอียด: 

การทําเยลลี่ส้มแขกโดยการนําสาหร่ายผมนางมาทดแทนเจลาตินบางส่วน เพื่อเป็นการใช้ วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ โดยส้มแขกมีสาร Hydroxycitric acid (HCA) และสาหร่าย ผมนางซึ่งเป็นการลดปริมาณเจลาติน ผลการศึกษาการใช้สาหร่ายผมนางผงที่แตกต่างกัน 3 ระดับคือร้อยละ 1 ร้อยละ 2 และ ร้อยละ 3 ของปริมาณเจลาตินจากการทดสอบทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี Hedonic scale ผู้ทดสอบ ชิม 15 คนให้การยอมรับผลิตภัณฑ์เยลลี่ส้มแขกผสมสาหร่ายผมนางร้อยละ 1 มากที่สุด ผลิตภัณฑ์มี สี กลิ่น รสชาติ ความเหนียวนุ่ม และความชอบรวม แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 (P<0.01) ค่าสี (Color flex 45/0) ความสว่าง 53.59 (1) สีแดง -1.17 (2*) และสีเหลือง 10.79 (b*) ตามลําดับ มีองค์ประกอบทางเคมี ความชื้นร้อยละ 2.82 ความเป็นกรดร้อยละ 1.56 ของกรด อะซิติก ความเป็นกรด-เบส 3.43 และปริมาณของแข็งทั้งหมดร้อยละ 97.17 ผลการศึกษาการเปลี่ยน แปลงระหว่างการเก็บผลิตภัณฑ์เยลลี่ส้มแขกผสมสาหร่ายผมนาง 14 วันโดยตรวจวิเคราะห์ปริมาณ จุลินทรีย์ทั้งหมด และ โคลิฟอร์ม มีจุลินทรีย์ไม่เกิน 30 (CFU/g) และไม่พบเชื้อ Escherichia coli เก็บได้นาน 14 วัน ผลการทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์เยลลี่ส้มแขกผสมสาหร่ายผมนาง กับเยลลี่จากท้อง ตลาดผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับเยลลี่ส้มแขกผสมสาหร่ายผมนาง มากกว่าเยลลี่จากท้องตลาดที่ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 (P<0.01)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 การตรวจเอกสาร

บทที่3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง

บทที่4 สถานที่และระยะเวลาการทดลอง

บทที่5 ผลการทดลอง

บทที่6 วิจารณ์ผลการทดลอง

บทที่7 สรุปผลการทดลอง

บทที่8 ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก