การเปรียบเทียบประสิทธิภาพเปลือกไข่และเปลือกกุ้งในการดูดซับแคดเมียมที่ละลายในน้ำ

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

สริญต้า แหน๊ะหมัด, สุดา ไชยรักษ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.363.7394 ส17ก

รายละเอียด: 

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเปลือกไข่ไก่และเปลือกกุ้งขาวในการดูดซับ แคดเมียมที่ละลายในน้ํา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการดูดซับแคดเมียมและ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวดูดซับระหว่างเปลือกไข่ไก่และเปลือกกุ้งขาวที่ใช้ในกระบวนการ ลดปริมาณแคดเมียมในน้ําเสีย ซึ่งวิเคราะห์ด้วยวิธีเฟลมอะตอมมิกแอบซอร์พชั่นสเปกโตรโฟโตรมิทรี (FAAS) โดยทําการทดลองศึกษาความสามารถในการกําจัดแคดเมียมจากน้ําแคดเมียมสังเคราะห์ การศึกษาเบื้องต้น พบว่า ในช่วง 30 นาทีแรก อัตราการกําจัดแคดเมียมเป็นไปอย่างรวดเร็วสามารถ กําจัดแคดเมียมได้ 78 80 % และเมื่อเวลาผ่านไปเปอร์เซ็นต์การกําจัดแคดเมียมเพิ่มขึ้นเพียง เล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 89 - 91% และส่วนการศึกษาไอโซเทอร์มการดูดซับแคดเมียม พบว่า เปลือกไข่ไก่มีความสามารถในการกําจัดแคดเมียมได้ดีกว่าเปลือกกุ้งขาว ดังนั้นเมื่อทําการ ทดลองศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเปลือกไข่ไก่และเปลือกกุ้งขาวในการดูดซับแคดเมียม ที่ความเข้มข้น 10, 20 และ30 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า เปลือกไข่ไก่สามารถลดปริมาณแคดเมียม ได้ร้อยละ 79.40, 95.21 และ 93.90 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลําดับ และเปลือกกุ้งขาวสามารถลด ปริมาณแคดเมียม ได้ร้อยละ 87.00, 93.83 และ 92.17 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลําดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่า โท เบา d ร ดูดซับได้มากที่สุด ในความเข้มข้นของสารละลายแคดเมียม 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้น จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเปลือกไข่ไก่ 95.21% และเปลือกกุ้งขาว 93.83 %ในการดูดซับแคดเมียมที่ละลายในน้ํา สามารถสรุปได้ว่า เปลือกไข่ไก่มีประสิทธิภาพในการ ดูดซับแคดเมียมได้ดีกว่าเปลือกกุ้งขาว เนื่องจากเปลือกไข่ไก่มีสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต เป็นส่วนใหญ่ และมีลักษณะพิเศษในการนํามาใช้ดูดซับและจับตะกอนต่างๆในสารละลายได้ (สิริชื่น ตะนุสะ, 2543) ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูดซับ ได้แก่ สมบัติของตัวดูดซับ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ผิวและโครงสร้างของรูพรุน ซึ่งพื้นที่ผิวมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรูพรุน หากรูพรุนมีมาก ทําให้มีพื้นที่ผิวดูดซับมาก ทั้งนี้ความสามารถในการดูดซับก็จะมากขึ้น การดูดซับจะเกิดได้ดีเมื่อ โมเลกุลตัวถูกดูดซับมีขนาดเล็กกว่ารูพรุนเล็กน้อย การศึกษาครั้งนี้ เป็นเพียงการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการ ใช้เปลือกไข่ไก่และเปลือกกุ้งขาวมาบําบัด เพื่อลดปริมาณสารโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ํา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทําได้ง่าย เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบําบัดน้ําเสียที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก ด้วยวิธีนี้ใช้ต้นทุนน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย ง่ายต่อการบําบัดและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีได้มากที่สุด ซึ่งเป็นการนําวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เป็นตัวดูดซับในการกําจัดแคดเมียมในน้ํา กระบวนการบําบัดที่มีพื้นฐานจากสิ่งมีชีวิตเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัย 4

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลและการวิเคราะห์ผล

บทที่5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก